การกำหนดระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล กรณีศึกษา: หาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก คุณกิตติ ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
  • สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง

คำสำคัญ:

ระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล, การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล, แบบจำลองบรูน, หาดชลาทัศน์, การกัดเซาะชายฝั่ง

บทคัดย่อ

ระยะถอยร่นเปรียบเสมือนแนวกันชนระหว่างทะเลกับผืนแผ่นดิน เพราะเป็นการรักษาความสมดุลของกระบวนการชายฝั่งไม่ให้ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์บนพื้นที่ชายฝั่ง และเป็นการลดผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากภัยธรรมชาติ และอื่นๆ ที่อาจมีต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดระยะถอยร่นชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ซึ่งกรณีศึกษาคือ หาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา โดยประเมินระยะถอยร่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในปี ค.ศ. 2100 จาก 3 กระบวนการ ได้แก่ การกัดเซาะที่เกิดจากพายุ อัตราการกัดเซาะในอดีต และการกัดเซาะอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ผลการศึกษาพบว่า อัตราการกัดเซาะที่เกิดจากพายุอยู่ที่ 50 เมตร อัตราการกัดเซาะในอดีตเท่ากับ 0.05 เมตรต่อปี และอัตราการกัดเซาะอันเนื่องมาจากการเพิ่มระดับน้ำขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีอัตราการกัดเซาะน้อยสุดเท่ากับ 21.49 เมตร(RCP 2.6) และมากสุดเท่ากับ 38.34 เมตร(RCP 8.5) จากผลดังกล่าวทำให้สามารถคำนวณหาระยะถอยร่นในกรณี RCP 2.6, 4.5, 6.0 และ 8.5 ได้เท่ากับ 75.99, 81.17, 82.04 และ 90.91 เมตร ตามลำดับ โดยผลการศึกษานี้จะใช้เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินระยะถอยร่นของชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล ของประเทศไทยในอนาคต

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

[1] Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). (2007). “Climate Change2007”, The Physical Science Basis.
[2] Zheng Wang, Changjiang Shao, Chandxin Liu, Rui Huang, (2017). “The Impact of Sea Level Rise under the Global Carbon Reduction Strategy Based on EMRICES Model in China”. www.researchgate.net/publication/314667935.
[3] กิรพัฆน์ พชรพิชชากร และ สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง. (2557). แบบจำลองอย่างง่ายสำหรับการตอบสนองของชายฝั่งต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 19. ณ โรงแรมพูลแมน, ขอนแก่น.
[4] M.Sano, J.A Jimenez, R.Medina, A.Stanica, A.Sanchez-Arcilla, I.Trumbic. (2011)., The role of coastal setbacks in the context of coastal erosion and climate change: Ocean & Coastal Management 54, pp. 943-950
[5] Peng Wang, Jianzheng Wu, Xiaojie Tan. (2012). “Coastal Building Setback Line Determining Method and Application”. Advanced Materials Research Vol 575:142-146
[6] กิรพัฆน์ พชรพิชชากร. (2560). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลสัมพันธ์ที่มีต่อการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
[7] J. Andrew, G. Cooper, Orrin H. Pilkey. (2004). “Sea-level rise and shoreline retreat: time to abandon the Bruun Rule”, Global and Planetary Change 43, pp. 157-171
[8] Dean, R.G. (1991). “Equilibrium beach Profiles: characteristics and application”. Journal of Coastal Research, 7, 1, 53-84.
[9] R. J. Hallermeier. (1981). "A profile zonation for seasonal sand beaches from wave. Coastal Engineering, 4, pp. 253-277
[10] I. Takeda, and T. Sunamura. (1983). "Topographic evolution of sandy beaches in the Proceedings of Coastal Engineering”, JSCE, 30, pp. 254-258, (in Japanese).
[11] T. Sunamura. (1983). "Determination of Breaker Height an Depth in the Field". Annual Report No.8, Institute of Geoscience, University of Tsukuba, Japan, pp. 53-54
[12] Western Australia Planning Commission and Department for Planning and Infrastructure. (2008). The changing Cockburn coast. Oceanica, Coastal Processes Report.
[13] สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง, อภิศักดิ์ ทัศนี, อริสรา บินดุส๊ะ และ พรรณนิกา โสตถิพันธุ์. (2559). การมีส่วนร่วมของเยาวชนสงขลาเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของชายหาด กรณีศึกษา: การกัดเซาะชายฝั่งช่วงมรสุม. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 21, สงขลา, 28-30 มิถุนายน 2559, หน้า 2239-2244

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง