การสร้างแบบจำลองสามมิติเพื่อหาปริมาตรของต้นไม้โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ กรณีศึกษาต้นฟ็อกเทล

  • พลพจน์ เอี่ยมสอาด
  • วิชญ์ภาส อภิญญารัตน์
  • เสฏฐวุฒิ แจ้งจั่น
  • ไพรัช ชูเลิศ วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อนุเผ่า อบแพทย์
คำสำคัญ: แบบจำลองสามมิติ, ปริมาตรของต้นไม้, อากาศยานไร้คนขับ, ต้นฟ็อกเทล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้แสดงผลการศึกษาและทดสอบขั้นตอนการรังวัดและสำรวจภาพถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) ร่วมกับการประมวลผลด้วยโปรแกรมประยุกต์รหัสเปิด Open Drone Map เพื่อสร้างแบบจำลองสามมิติเพื่อหาปริมาตรของต้นไม้โดยใช้ต้นฟ็อกเทลเป็นกรณีศึกษา โดยเปรียบเทียบค่าปริมาตรที่ได้ระหว่างซอฟต์แวร์รหัสเปิด Open Drone Map กับ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ Agisoft Photoscan จากนั้นทำการเก็บข้อมูลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกและความสูงของต้นฟ็อกเทลโดยใช้กล้องวัดมุม Theodolite เพื่อใช้ในการประเมินความถูกต้องที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับและเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับการวัดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ความสูงระดับอก จากการวิจัยหาปริมาตรของต้นฟ็อกเทล พบว่าปริมาตรของต้นฟ็อกเทลที่ได้จากซอฟต์แวร์รหัสเปิด Open Drone Map เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ Agisoft Photoscan มีเปอร์เซ็นความแตกต่างกันเท่ากับ 0.008 ลูกบาศก์เมตรหรือ +2.52 % ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกัน จึงสามารถใช้ค่าจากซอฟต์แวร์รหัสเปิด Open Drone Map ได้ เมื่อเปรียบเทียบการใช้กล้องวัดมุม Theodolite มีเปอร์เซ็นความแตกต่างจากซอฟต์แวร์รหัสเปิด Open Drone Map อยู่ที่ 0.003 ลูกบาศก์เมตรหรือ +1.33 % ดังนั้นในการหาปริมาตรของต้นไม้ชนิดอื่นก็สามารถนำวิธีการที่นำเสนอไปประยุกต์ใช้ทดแทนการสำรวจต้นไม้ในสนามแบบเดิม เนื่องจากอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก มีความละเอียดสูงและมีความสะดวกรวดเร็วในการเก็บข้อมูล และยังสามารถนำไปใช้งานในการหาปริมาตรหรือพื้นที่ในงานวิศวกรรมด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
เอี่ยมสอาดพ., อภิญญารัตน์ว., แจ้งจั่นเ., ชูเลิศไ. และ อบแพทย์อ. 2020. การสร้างแบบจำลองสามมิติเพื่อหาปริมาตรของต้นไม้โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ กรณีศึกษาต้นฟ็อกเทล. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI07.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>