การสร้างแผนที่น้ำท่วมโดยใช้แหล่งข้อมูลเปิดและซอฟต์แวร์รหัสเปิด

ผู้แต่ง

  • ภัทรรุตม์ สุขพานิช ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กัญจน์ อัศวพิภพไพศาล
  • สุณัฐชา จันทร์พิศาล
  • กัญญาวี สุขยิ่ง
  • อนุเผ่า อบแพทย์

คำสำคัญ:

น้ำท่วม, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, แหล่งข้อมูลเปิด, ซอฟต์แวร์รหัสเปิด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอวิธีการประมวลผลข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเปิดด้วยซอฟต์แวร์รหัสเปิดเพื่อหาพื้นที่ขอบเขตน้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานี และนำมาใช้เป็นชั้นข้อมูลภัยพิบัติจากน้ำท่วมเพื่อทำการทดสอบการประมวลผลข้อมูลแลนด์สแกน (Landscan) ซึ่งเป็นข้อมูลการกระจายตัวของประชากรที่มีความละเอียดสูง โดยสร้างมาจากแบบจำลอง Dasymetric หรือการทำแผนที่ด้วยวิธีแบบละเอียด ที่ใช้ในการประมาณค่าความหนาแน่นของประชากร และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับข้อมูลจำนวนประชากรของกรมการปกครองในการหาจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ตลอดจนการค้นหาพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายสูงสุดจากน้ำท่วมโดยใช้ดาวเทียมเซนทิเนลวัน (Sentinel-1) จากสหภาพยุโรป ซึ่งสามารถดาวน์โหลดข้อมูลพื้นที่ประสบภัยมาทำการวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิด เช่นโปรแกรม SNAP และ QGIS เป็นต้น ในการทำงานร่วมกัน ทำให้สามารถประมวลผลทุกขั้นตอนได้โดยไม่มีอุปสรรคทางข้อจำกัดในด้านซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ สำหรับผลลัพธ์ที่ได้คือพื้นที่น้ำท่วมสูงสุดของจังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562 มีพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 346.70 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 216,688.13 ไร่ และผลการวิเคราะห์ของวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562 เปรียบเทียบกับข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมที่วิเคราะห์โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ จะมีพื้นที่แตกต่างกันอยู่ที่ประมาณ 20.40 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 12,750 ไร่ จากนั้นเมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนประชากรในจังหวัดอุบลราชธานีที่ประมวลผลโดยใช้ข้อมูลแลนด์สแกน (Landscan) จะได้จำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,615,388  คน เมื่อนำมาวิเคราะห์จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบจากพื้นที่น้ำท่วมคิดเป็นร้อยละ 37.14 ของจำนวนประชากรทั้งจังหวัด โดยมีความคลาดเคลื่อนจากการ เปรียบเทียบกับข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อยู่ที่ร้อยละ 13 นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำวิจัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหาแนวโน้มของพื้นที่น้ำท่วมเพื่อเตรียมการป้องกัน การเฝ้าระวังหรือทำการอพยพประชากรได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดการเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง แต่การใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเปิดนั้นจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำไปใช้จริง เพื่อให้การประเมินสถานการณ์อยู่ในระดับความคลาดเคลื่อนที่สามารถยอมรับได้

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

[1] The European Space Agency. (2562). Copernicus Open Access Hub. สืบค้น 26 กันยายน 2562, จากhttps://scihub.copernicus.eu/dhus/#/home)
[2] สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(องค์การมหาชน). (2562). Thailand Flood Monitoring System. สืบค้น 26 กันยายน 2562, จาก http://flood.gistda.or.th/
[3] Stephanie Saephan. (2561). open learning GIS lab.
สืบค้น 26 กันยายน 2562, จาก https://opengislab.com/
[4] สำนักบริหารการทะเบียน.(2562). ระบบสถิติทางการทะเบียน. สืบค้น 30 กันยายน 2562,จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/
[5] สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี. (2560). ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้น 30 กันยายน 2562, จากhttp://www.web.moe.go.th/ubnpeo/index.php?option=com_content&view=article&id=26&Itemid=164
[6] Department of Energy's Oak Ridge National Laborator. (2560). LandScan. สืบค้น 1 ตุลาคม 2562, จากhttps://landscan.ornl.gov/
[7] ฝ่ายระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมชลประทาน. (ไม่ระบุปีที่จัดทำ). คู่มือการฝึกอบรมโปรแกรม ArcGIS. สืบค้น 1 ตุลาคม 2562, จาก http://kmcenter.rid.go.th/kmc09/data/5/ArcGis.pdf
[8] กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (ไม่ระบุปีที่จัดทำ). คู่มือการใช้งาน Quantum GIS 3.2. สืบค้น 1 ตุลาคม 2562, จาก http://www.bangkokgis.com/giselearning/
[9] สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2558). เรดาร์ (RADAR). สืบค้น 1 ตุลาคม 2562, จาก https://www.gistda.or.th/main/th/node/1046
[10] NETH'S OFFICIAL SITE. (ไม่ระบุปีที่จัดทำ). DOWNLOAD GIS DATA. สืบค้น 1 ตุลาคม 2562, จาก http://www.bangkokgis.com/giselearning/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##