การเปรียบเทียบพฤติกรรมของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในสะพานคอนกรีตอัดแรง เมื่อรับน้ำหนักของรถบรรทุกไทยตามข้อกำหนดใหม่ของกรมทางหลวง และรถบรรทุกตามมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา (AASHTO-HL93)
คำสำคัญ:
โครงสร้างสะพาน, คอนกรีตอัดแรง, น้ำหนักรถบรรทุกมาตรฐานกรมทางหลวง, น้ำหนักบรรทุกมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอความแตกต่างของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในสะพานคอนกรีตอัดแรง เมื่อรับน้ำหนักของรถบรรทุกไทยที่ประกาศใช้ใหม่ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง และรถบรรทุกตามมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีการกำหนดให้ใช้น้ำหนักบรรทุกที่หลากหลายตามประกาศใหม่ของกรมทางหลวงสำหรับการออกแบบสะพาน ส่วนการออกแบบสะพานแบบดั้งเดิมจะอ้างอิงจากมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกากันอย่างแพร่หลาย โดยนำเอาน้ำหนักรถบรรทุกและค่าตัวคูณกำลัง รวมทั้งวิธีการออกแบบมาใช้งาน ทั้งนี้การศึกษาจะใช้วิธีการจำลองโครงสร้างสะพานคอนกรีตอัดแรงแบบต่อเนื่องสามช่วงสะพาน ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์รับน้ำหนักรถบรรทุกไทยตามประกาศของกรมทางหลวงที่ประกาศใช้ใหม่และน้ำหนักรถบรรทุกตามมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดให้น้ำหนักกระทำบนสะพานที่มีความยาวช่วงเท่ากับ 35 เมตร จำนวน 3 ช่วง ความยาวสะพานรวมทั้งหมดเท่ากับ 105 เมตร พร้อมเปรียบเทียบพฤติกรรมของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในสะพานคอนกรีตอัดแรงกับค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการกำหนดน้ำหนักรถบรรทุกและการนำมาปรับใช้สำหรับการออกแบบสะพานในประเทศไทย
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
Tabsh, S. W. and Tabatabai, M. (2001) Live Load Distribution in Girder Bridges Subject to Oversized Trucks, Journal of Bridge Engineering. Vol.6.
กรรณิการ์ ริมดุสิตและสมโพธิ์ วิวิธเกยูรวงศ์(2548). การเปรียบเทียบโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนของคานสะพานช่วงเดียวที่เกิดจากรถบรรทุกสิบล้อและรถบรรทุกมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43, สาขาวิศวกรรมศาสตร์-สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดินและผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดหรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายเดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 150 ง. 25 ธันวาคม 2548. หน้า 19-25
คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา (2549). มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตอัดแรง. บริษัท โกลบอล กราฟฟิค จำกัด , 38 หน้า
American Association of State Highway and Transportation Officials (2007). AASHTO LRFD Bridge Specifications. Washington DC.
กรมทางหลวง. หนังสืออนุญาตที่ คค0606/9704. 21 ธันวาคม 2550
กรมทางหลวง. ประกาศกรมทางหลวงที่ คค0643/530. หลักเกณฑ์การขออนุญาตให้ใช้ยานพาหนะเดินบนทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ตามประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2548. 30 กันยายน 2551.
ประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดินและผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดหรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายเดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 92 ง. 30 มิถุนายน 2552. หน้า 2-7
ประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดินและผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดหรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายเดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 174 ง. 30 พฤศจิกายน 2552. หน้า 116-117
สุนิติ สุภาพและภานุวัฒน์ จ้อยกลัด (2554). การเปรียบเทียบแรงภายในของสะพานช่วงเดี่ยวเนื่องจากน้ำหนักรถบรรทุกไทยกับน้ำหนักทางหลวงตามมาตรฐาน AASHTO. วิศวกรรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, ปีที่ 22 ฉบับที่ 1, หน้า 25-35.
สุนิติ สุภาพและภานุวัฒน์ จ้อยกลัด (2554). การเปรียบเทียบผลตอบสนองสูงสุดของสะพานต่อเนื่อง 3 ช่วง เนื่องจากรถบรรทุกไทยและน้ำหนักบรรทุกจรตามมาตรฐาน AASHTO. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2554,หน้า 317-334.
สมโพธิ์ วิวิธเกยูรวงศ์และสมศักดิ์ คำปลิว (2555). คู่มือการออกแบบสะพาน. บริษัท ยูโลจี กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (TumCivil.com). 310 หน้า
สุนิติ สุภาพและภานุวัฒน์ จ้อยกลัด (2555). สัดส่วนผลตอบสนองสูงสุดของคานสะพานต่อเนื่อง 3 ช่วง เนื่องจากรถบรรทุกไทยและน้ำหนักบรรทุกจร HL-93. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., ปีที่ 35 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2555,หน้า 501-518.
ทศพล ปิ่นแก้วและมนต์เกียรติ์ ชนินทรลีลา (2558). การออกแบบสะพาน. จูน พับลิชชิ่ง, 514 หน้า.
ภูมิเกียรติ สว่างวงศ์ (2559). การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงที่ก่อสร้างแบบคานยื่นสมดุลตาม AASHTO LRFD HL-93.วิทยานิพนธ์. สาขาวิศวกรรมโยธา. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์