การเปรียบเทียบพฤติกรรมของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในสะพานคอนกรีตอัดแรง เมื่อรับน้ำหนักของรถบรรทุกไทยตามข้อกำหนดใหม่ของกรมทางหลวง และรถบรรทุกตามมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา (AASHTO-HL93)

  • อัฏฐวิทย์ สุจริตพงศ์
  • วรียส ถิรดุลย์กุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ภูมิเกียรติ สว่างวงศ์
คำสำคัญ: โครงสร้างสะพาน, คอนกรีตอัดแรง, น้ำหนักรถบรรทุกมาตรฐานกรมทางหลวง, น้ำหนักบรรทุกมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริก

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอความแตกต่างของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในสะพานคอนกรีตอัดแรง เมื่อรับน้ำหนักของรถบรรทุกไทยที่ประกาศใช้ใหม่ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง และรถบรรทุกตามมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีการกำหนดให้ใช้น้ำหนักบรรทุกที่หลากหลายตามประกาศใหม่ของกรมทางหลวงสำหรับการออกแบบสะพาน ส่วนการออกแบบสะพานแบบดั้งเดิมจะอ้างอิงจากมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกากันอย่างแพร่หลาย โดยนำเอาน้ำหนักรถบรรทุกและค่าตัวคูณกำลัง รวมทั้งวิธีการออกแบบมาใช้งาน ทั้งนี้การศึกษาจะใช้วิธีการจำลองโครงสร้างสะพานคอนกรีตอัดแรงแบบต่อเนื่องสามช่วงสะพาน ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์รับน้ำหนักรถบรรทุกไทยตามประกาศของกรมทางหลวงที่ประกาศใช้ใหม่และน้ำหนักรถบรรทุกตามมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดให้น้ำหนักกระทำบนสะพานที่มีความยาวช่วงเท่ากับ 35 เมตร จำนวน 3 ช่วง ความยาวสะพานรวมทั้งหมดเท่ากับ 105 เมตร พร้อมเปรียบเทียบพฤติกรรมของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในสะพานคอนกรีตอัดแรงกับค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการกำหนดน้ำหนักรถบรรทุกและการนำมาปรับใช้สำหรับการออกแบบสะพานในประเทศไทย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

นเรศ พันธราธร (2540). การออกแบบคอนกรีตอัดแรง. ไลบรารี่ นาย, 438 หน้า.

Tabsh, S. W. and Tabatabai, M. (2001) Live Load Distribution in Girder Bridges Subject to Oversized Trucks, Journal of Bridge Engineering. Vol.6.

กรรณิการ์ ริมดุสิตและสมโพธิ์ วิวิธเกยูรวงศ์(2548). การเปรียบเทียบโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนของคานสะพานช่วงเดียวที่เกิดจากรถบรรทุกสิบล้อและรถบรรทุกมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43, สาขาวิศวกรรมศาสตร์-สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดินและผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดหรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายเดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 150 ง. 25 ธันวาคม 2548. หน้า 19-25

คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา (2549). มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตอัดแรง. บริษัท โกลบอล กราฟฟิค จำกัด , 38 หน้า

American Association of State Highway and Transportation Officials (2007). AASHTO LRFD Bridge Specifications. Washington DC.

กรมทางหลวง. หนังสืออนุญาตที่ คค0606/9704. 21 ธันวาคม 2550

กรมทางหลวง. ประกาศกรมทางหลวงที่ คค0643/530. หลักเกณฑ์การขออนุญาตให้ใช้ยานพาหนะเดินบนทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ตามประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2548. 30 กันยายน 2551.

ประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดินและผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดหรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายเดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 92 ง. 30 มิถุนายน 2552. หน้า 2-7

ประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดินและผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดหรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายเดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 174 ง. 30 พฤศจิกายน 2552. หน้า 116-117

สุนิติ สุภาพและภานุวัฒน์ จ้อยกลัด (2554). การเปรียบเทียบแรงภายในของสะพานช่วงเดี่ยวเนื่องจากน้ำหนักรถบรรทุกไทยกับน้ำหนักทางหลวงตามมาตรฐาน AASHTO. วิศวกรรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, ปีที่ 22 ฉบับที่ 1, หน้า 25-35.

สุนิติ สุภาพและภานุวัฒน์ จ้อยกลัด (2554). การเปรียบเทียบผลตอบสนองสูงสุดของสะพานต่อเนื่อง 3 ช่วง เนื่องจากรถบรรทุกไทยและน้ำหนักบรรทุกจรตามมาตรฐาน AASHTO. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2554,หน้า 317-334.

สมโพธิ์ วิวิธเกยูรวงศ์และสมศักดิ์ คำปลิว (2555). คู่มือการออกแบบสะพาน. บริษัท ยูโลจี กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (TumCivil.com). 310 หน้า

สุนิติ สุภาพและภานุวัฒน์ จ้อยกลัด (2555). สัดส่วนผลตอบสนองสูงสุดของคานสะพานต่อเนื่อง 3 ช่วง เนื่องจากรถบรรทุกไทยและน้ำหนักบรรทุกจร HL-93. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., ปีที่ 35 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2555,หน้า 501-518.

ทศพล ปิ่นแก้วและมนต์เกียรติ์ ชนินทรลีลา (2558). การออกแบบสะพาน. จูน พับลิชชิ่ง, 514 หน้า.

ภูมิเกียรติ สว่างวงศ์ (2559). การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงที่ก่อสร้างแบบคานยื่นสมดุลตาม AASHTO LRFD HL-93.วิทยานิพนธ์. สาขาวิศวกรรมโยธา. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-06
How to Cite
[1]
สุจริตพงศ์อ., ถิรดุลย์กุลว. และ สว่างวงศ์ภ. 2020. การเปรียบเทียบพฤติกรรมของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในสะพานคอนกรีตอัดแรง เมื่อรับน้ำหนักของรถบรรทุกไทยตามข้อกำหนดใหม่ของกรมทางหลวง และรถบรรทุกตามมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา (AASHTO-HL93). การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), INF03.