การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงและการคาดการณ์ การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน โดยใช้แบบจำลอง CA-MARKOV

ผู้แต่ง

  • ติณณ์ ถิรกุลโตมร สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • วิลาวัณย์ ประสมทรัพย์
  • อธิวัฒน์ ภิญโญยาง

คำสำคัญ:

แบบจำลอง CA-Markov, ดาวเทียม Sentinel-2A, การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน, การคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองเชิงพื้นที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการคาดการณ์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในปัจจุบัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินจากข้อมูลดาวเทียม ติดตามการเปลี่ยนแปลงและคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในอนาคต วิธีการศึกษาเริ่มจากการจำแนกข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในปี 2560, 2561 และ 2562 จากข้อมูลดาวเทียม Sentinel-2A จากนั้นทำการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562 หลังจากนั้นใช้แบบจำลอง CA-MARKOV คาดการณ์และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินที่จะเกิดขึ้นในปี 2563 ผลการศึกษาพบว่า การทดสอบแบบจำลองที่ใช้ในการคาดการณ์มีค่าความถูกต้องโดยรวมร้อยละ 80.46 และค่าสัมประสิทธิ์แคปปาร้อยละ 76.70 ผลการตรวจสอบเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในปี 2563 มีพื้นที่เกษตรกรรม ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และแหล่งน้ำ เพิ่มขึ้น เท่ากับ 6,009 ไร่, 287 ไร่ และ 716 ไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่เบ็ดเตล็ดมีพื้นที่ลดลง เท่ากับ 5,687 ไร่ และ 1,326 ไร่ ตามลำดับ การบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกับแบบจำลองเชิงพื้นที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงและการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
ถิรกุลโตมร ต. และคณะ 2020. การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงและการคาดการณ์ การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน โดยใช้แบบจำลอง CA-MARKOV. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI03.