การประมาณค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยข้อมูลแบบจำลองภูมิประเทศเชิงตัวเลข จากอากาศยานไร้คนขับ
คำสำคัญ:
พลังงานแสงอาทิตย์, แบบจำลองภูมิประเทศเชิงตัวเลข, อากาศยานไร้คนขับบทคัดย่อ
ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่สวนทางกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย ทำให้การพัฒนาพลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานลม เป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ผู้วิจัยจึงได้มีแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีช่วยในการสำรวจค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยข้อมูลแบบจำลองภูมิประเทศเชิงตัวเลข (DTM) ที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับบนพื้นที่โล่ง ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เพื่อนำเสนอพื้นที่ต้นแบบในการคำนวณปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ต่อพื้นที่รับแสง (Area Solar Radiation) ที่มีค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในระดับต่าง ๆ ก่อนการลงสำรวจพื้นที่จริง จากการศึกษาพบว่าค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้จากแบบจำลองภูมิประเทศเชิงตัวเลขจะให้ค่าพลังงานสูงสุดและต่ำสุด เท่ากับ 5,670.96 และ 2.65927 MWh ตามลำดับ หลังจากทำการตัดสิ่งปกคลุมดิน (สิ่งปลูกสร้าง และแหล่งน้ำ) ค่าพลังงานสูงสุดและต่ำสุด เท่ากับ 5,645.61 และ 382.715 MWh ตามลำดับ เมื่อนำมาแบ่งระดับค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ตามช่วงของข้อมูลเชิงเรขาคณิตออกเป็น 5 ระดับ พบว่าบริเวณพื้นที่เปิดโล่งทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของมหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่ที่ให้ค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุด (เนื้อที่ 22,869.04 ตารางเมตร) ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการพิจารณาพื้นที่เหมาะสมหากมีแผนในการจัดหาพื้นที่ในการติดตั้งเซลล์รับพลังงานแสงอาทิตย์ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์