การศึกษาติดตามคันทางดินมวลเบา Air Foam Mixed Stabilized Soil หลังเปิดใช้งานนานกว่า 12 ปี

ผู้แต่ง

  • ธิติพัทธ์ รู้หลัก สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง
  • อัคคพัฒน์ สว่างสุรีย์
  • อรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช
  • เศกชัย อนุเวชศิริเกียรติ

คำสำคัญ:

การสร้างถนนบนดินอ่อน, คันทางดินมวลเบา

บทคัดย่อ

จากปัญหาการทรุดตัวต่างระดับบริเวณส่วนต่อระหว่างคันทางถนนกับโครงสร้างสะพานทางหลวง (Transition Zone) อันเนื่องมาจากการขาดเสถียรภาพและการทรุดตัวในระยะยาวของสิ่งก่อสร้างในเขตพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่ประกอบไปด้วยดินเหนียวอ่อนที่มีปริมาณน้ำในดินสูง ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้ใช้ทางหลวงเป็นอย่างมาก กรมทางหลวงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันวิจัยโยธาธิการของประเทศญี่ปุ่น (Public Work Research Institute, PWRI) ในการศึกษางานก่อสร้างถนนบนดินอ่อนด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างคันทางดินมวลเบาและจัดทำแปลงทดลองคันทางดินมวลเบาโดยวิธีการผสมฟองอากาศในดิน
(Air-foam Mixed Stabilized Soil หรือ AMS) บนทางหลวงหมายเลข 35 (พระราม 2) ช่วง กม. 72+712.5 ถึง กม. 72+845 (ขาเข้า) ฝั่งขวาทาง
จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีสถาบัน PWRI ให้การสนับสนุนเครื่องผสมดินมวลเบาและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น ในการควบคุมและกำกับดูแลงานก่อสร้างร่วมกับสำนักสำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการติดตามประสิทธิผลและผลการตรวจวัดค่าการทรุดตัวตั้งแต่เปิดใช้งานมานานกว่า 12 ปี โดยพิจารณาจากประวัติการบำรุงสายทาง ปริมาณการจราจร ระดับน้ำใต้ดิน ค่าการทรุดตัวช่วงบริเวณคอสะพาน และผลการเจาะเก็บตัวอย่างเพื่อทดสอบคุณสมบัติของดินมวลเบา AMS จากผลการติดตามตรวจวัดในสนามและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่า คอสะพานฝั่งที่ใช้คันทางดินมวลเบามีค่าการทรุดตัวลดลงกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับค่าการทรุดตัวของคันทางถมปกติ นอกจากนี้ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการแสดงว่า ตัวอย่างวัสดุ AMS ยังมีสภาพใช้งานที่ดีแม้ในสภาวะท่วมขังของระดับน้ำใต้ดินสูง ตัวอย่างมีความแข็งแรงและทนทานตามข้อกำหนดการออกแบบ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##