การติดตามและวิเคราะห์ความเค็มรุกตัวด้วยระบบคาดการณ์ความเค็มรุกตัวในแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงพายุโซนร้อนปาปึก 2562
คำสำคัญ:
ความเค็มรุกตัว, พายุโซนร้อนปาบึก, ระบบคาดการณ์ความเค็มรุกตัว, แม่น้ำเจ้าพระยา, Salinity intrusion, Tropical Storm Pabuk, Salinity Intrusion Forecast System, Chao Phraya riverบทคัดย่อ
ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เผชิญพายุโซนร้อนปาบึก ที่มีความรุนแรงในรอบ 2 ทศวรรษหลังจากพายุไต้ฝุ่นลินดาในปี พ.ศ. 2540 โดยพายุโซนร้อนปาบึกได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง บริเวณอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างความเสียหายต่อพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันอิทธิพลของพายุโซนร้อนปาบึกได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นอีกสถานที่ได้รับอิทธิพลของคลื่นลมจากพายุโซนร้อนปาบึกส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทำใหความเค็มจากน้ำทะเลรุกตัวเข้าสู่บริเวณสถานีสูบน้ำผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้ติดตามสถานการณ์ความเค็มรุกตัวด้วยระบบติดตามและคาดการณ์ความเค็มรุกตัว 7 วันล่วงหน้าในแม่น้ำเจ้าพระยา ร่วมกับระบบคาดการณ์คลื่นพายุซัดฝั่งและเตือนภัยล่วงหน้าในอ่าวไทย (Storm Surge Forecasting and Early Warning System in The Gulf of Thailand) ผลการคาดการณ์ความเค็มรุกตัวช่วงปาบึกล่วงหน้า 1 วัน 2 วัน 3 วัน มีความถูกต้องอยู่ที่ 68% 55% และ 50% ผลการคาดการณ์ความเค็มรุกตัวอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ อย่างไรก็ตามระบบคาดการณ์ความเค็มรุกตัวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก ด้วยเนื่องจากการบริหารจัดการน้ำที่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งความไม่แน่นอนของผลการคาดการณ์อากาศและคาดการณ์คลื่นพายุซัดฝั่งล้วนแล้วมีผลกระทบต่อระบบคาดการณ์ความเค็มรุกตัว
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์