การศึกษาดัชนี CSI ที่ทำให้เกิดฝนพาความร้อน (Convective rain) สำหรับการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน

ผู้แต่ง

  • อภิมุข มุขตารี สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
  • ทิชา โลลุพิมาน สถาบันสารสนเทศทรัพยการน้ำ (องค์การมหาชน)
  • ธีรพล เจริญสุข สถาบันสารสนเทศทรัพยการน้ำ (องค์การมหาชน)
  • สถิตย์ จันทร์ทิพย์ สถาบันสารสนเทศทรัพยการน้ำ (องค์การมหาชน)
  • ปิยมาลย์ ศรีสมพร สถาบันสารสนเทศทรัพยการน้ำ (องค์การมหาชน)

คำสำคัญ:

น้ำท่วมฉับพลัน, ฝนพาความร้อน (Convective Rain), CAPE, SIN, WRF-ROMS

บทคัดย่อ

น้ำท่วมฉับพลัน คือภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขณะฝนตกหรือหลังฝนตก สาเหตุจากมีปริมาณความเข้มฝนมากตกเกินขีดความสามารถของการรองรับน้ำหรือระบายน้ำของพื้นที่. พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันมักเป็นพื้นที่ลาดชันสูง อยู่บริเวณต้นน้ำหรือเชิงเขา รวมถึงพื้นที่เมืองใหญ่ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ระบบระบายน้ำเดิมไม่เพียงพอกับสภาพพื้นที่ปัจจุบันส่งผลให้ความสามารถการระบายน้ำลดลง การคาดการณ์เหตุการณ์ที่ฝนจะตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝนพาความร้อน (Convective rain) จึงเป็นเรื่องที่ท้าท้ายและเป็นประโยชน์ ดังนั้นการศึกษานี้ได้นำค่า CAPE และ CIN ที่เป็นพารามิเตอร์หลักต่อการเกิดฝน convective ของฝนคาดการณ์รายชั่วโมงจากแบบจำลองคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้นแบบคู่ควบ WRF-ROMS มาวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์เพื่อทำเป็นดัชนีความเสี่ยงการเกิดพายุฝนพาความร้อนในพื้นที่ หรือ Convective Storm Index (CSI) และได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝนและเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันในอดีต จากผลการศึกษาพบว่า CSI index ที่มีค่าเกณฑ์สูงสามารถเตือนฝน convective ล่วงหน้าได้ และเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับเกณฑ์ปริมาณฝนวิกฤต ทำให้สามารถเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน และสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เสี่ยงได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง