การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูลาร์ที่มีส่วนอโลหะจากกระบวนการรีไซเคิลแผงวงจรไฟฟ้าเป็นส่วนผสม

ผู้แต่ง

  • กาญจนาวรรณ์ ปัญญาวีร์ ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
  • สุพพัต ควรพงษากุล
  • เปรมฤดี กาญจนปิยะ

คำสำคัญ:

NMF, คอนกรีตมวลเบาเซลลูลาร์, สารทำฟองโฟม, การดูดซึมน้ำ, กำลังรับแรงอัด, ความหนาแน่นแห้ง

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันมีแนวคิดและความสนใจเกี่ยวกับการนำขยะพลาสติกที่เหลือจากกระบวนการผลิตแผงวงจรไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางหนึ่งคือการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์คอนกรีต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของส่วนที่เป็นอโลหะ(Non-metallic fraction, NMF) ที่ได้จากกระบวนการรีไซเคิลแผงวงจรไฟฟ้า ต่อสมบัติเชิงกายภาพและสมบัติเชิงกลของคอนกรีตมวลเบาเซลลูลาร์ โดยการนำ NMF มาแทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วนที่ร้อยละ 10-50 โดยน้ำหนัก มีการควบคุมความหนาแน่นของคอนกรีตสดที่ 700 และ1,000 กก./ม.3 โดยมีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 ทุกส่วนผสม และสารทำฟองโฟมที่ได้จากการผสมกับน้ำสะอาดที่อัตราส่วน 1 : 40 มีความหนาแน่นเท่ากับ 50 กก./ม.3 ผลการศึกษาพบว่าการแทนที่ทรายด้วย NMF ส่งผลให้ความหนาแน่นแห้งของคอนกรีตมวลเบาเซลลูลาร์มีความแปรปรวนไปจากความหนาแน่นควบคุมของคอนกรีตเพียงเล็กน้อย และยังส่งผลให้กำลังอัดรวมถึงการดูดซึมน้ำของคอนกรีตมวลเบาเซลลูลาร์มีค่าเพิ่มขึ้น การศึกษาแสดงให้เห็นว่าสามารถผลิตคอนกรีตมวลเบาเซลลูลาร์ โดยใช้ NMF แทนที่ทรายบางส่วน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

Rong Wang, Peiwei Gao , Minghao Tian and Yuchen Dai(2016).Experimental study on mechanical and waterproof performance of lightweight foamed concrete mixed with crumb rubber. Construction and Building Materials, 209, pp.655–664.

Ali A. Sayadi, Juan V. Tapia, Thomas R. Neitzert and G. Charles Clifton(2016).Effects of expanded polystyrene (EPS) particles on fire resistance,
thermal conductivity and compressive strength of foamed concrete. Construction and Building Materials, 112, pp.716–724.

Efe Ikponmwosa, Christopher Fapohunda, Olamiposi Kolajo and Otu Eyo(2017).Structural behaviour of bamboo-reinforced foamed
concrete slab containing polyvinyl wastes (PW) asvpartial replacement of fine aggegate, Journal of King Saud University – Engineering Sciences, 29, pp.348–355.

Chalermchai Chaitongrat and Somsak Siwadamrongpong(2018). Recycling of melamine formaldehyde waste as fine aggregate in lightweight concrete, Songklanakarin J. Sci. Technol, 40(1), pp.39-45.

กฤษณ์ กิ่งโก้ และ ปริญญา จินดาประเสริฐ (2553). คุณสมบัติของคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมสารซุปเปอร์พลาสติไซเซอร์. การประชุมทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 11, ขอนแก่น, 12 กุมภาพันธ์ 2553, หน้า 399-407.

อภิวิชญ์ พูลสง (2556). การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาผสมผงฝุ่นหินจากโรงโม่หิน. วารสารวิจัย, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, หน้า 94-102.

นวรัตน์ นิธิสุวรรณรักษา (2559). ผลของอัตราส่วนพลาสติกพอลิโพรไพลีนในอิฐมวลเบาต่อค่าความแข็งแรงอัดและสภาพนำความร้อน. วารสารวิชาการวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, หน้า 174-187.

วันโชค เครือหงษ์ และ อภิวิชญ์ พูลสง (2560). สมบัติทางกล โครงสร้างจุลภาค การนำความร้อนและการหดตัวแห้งของคอนกรีตมวลเบาเซลลูล่าผสมเถ้าชานอ้อย. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, ปีที่ 13, ฉบับที่ 2, หน้า 22-38.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง

[1]
ปัญญาวีร์ ก. และคณะ 2020. การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูลาร์ที่มีส่วนอโลหะจากกระบวนการรีไซเคิลแผงวงจรไฟฟ้าเป็นส่วนผสม. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), STR06.