การพัฒนาคอนกรีตพรุนจากส่วนอโลหะที่ได้จากกระบวนการรีไซเคิลแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • กชกร ศรีวัฒนกุล ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุพพัต ควรพงษากุล
  • เปรมฤดี กาญจนปิยะ
  • จักรพันธ์ เทือกต๊ะ

คำสำคัญ:

คอนกรีตพรุน, กำลังรับแรงอัด, การซึมผ่านน้ำ, ผงอโลหะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ส่วนอโลหะ (Non - Metallic Part, NMP) จากการรีไซเคิลแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นมวลรวมละเอียดเพื่อแทนที่มวลรวมละเอียดธรรมชาติในการผลิตคอนกรีตพรุนที่ 10% , 20% , 30% , 40% และ 50% ของน้ำหนักมวลรวมละเอียดธรรมชาติ และใช้มวลรวมหยาบ 2 ช่วงขนาด คือ 4 – 8 มิลลิเมตร และ 8 – 16 มิลลิเมตร เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกลและการซึมผ่านน้ำ เปรียบเทียบกับคอนกรีตพรุนทั่วไป จากการศึกษาพบว่าเมื่อใส่ส่วนอโลหะแทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วนทำให้มีกำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นได้ถึง 89 % เมื่อเทียบกับคอนกรีตพรุนที่แทนที่ด้วยมวลรวมละเอียดธรรมชาติ เนื่องจากผงอโลหะมีขนาดเล็กจึงเข้าไปแทนที่รูพรุนทำให้มีความพรุนลดลง และเมื่อรูพรุนของคอนกรีตนั้นลดลงจึงทำให้อัตราการซึมผ่านน้ำของคอนกรีตลดลงไปด้วย โดยปริมาณส่วนอโลหะแทนที่มวลรวมละเอียดที่เหมาะสม คือ 40% ในมวลรวมขนาด 4 – 8 มิลลิเมตร และ 20 % ในมวลรวมขนาด 8 – 16 มิลลิเมตร ของน้ำหนักมวลรวมละเอียด

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

American Concrete Institute. (2010). ACI 522R-10: Report on Pervious Concrete. ACI Manual of Concrete Practice. Detroit, USA.
Bhutta, M. A. R., Tsuruta, K., and Mirza, J. (2012). Evaluation of high-performance porous concrete properties. Construction and Building Materials, 31, 67-73.
Jongvivatsakulb, P., Swea, T.M., and Pansuk W., (2015). Properties of Pervious Concrete Aiming for LEED Green Building Rating System Credits. ENGINEERING JOURNAL, Volume 20, Issue 2
Kevern, J.T., Schaefer, V.R., and Wang, K., (2009). Design of Pervious Concrete Mixtures. National Pervious Concrete Pavement Association, Version 3.0
Mubashir, V.P., and et al. (2018) Pervious Concrete Block with Recycled Aggregate. SSRG International Journal of Civil Engineering (SSRG-IJCE), volume 5 Issue 5
ยุวดี แซ่ตั้ง, วันชัย สะตะ และปริญญา จินดาประเสริฐ (2556). คอนกรีตพรุนที่ทำจากมวลรวมรีไซเคิลและ มวลรวมเบา. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง