คุณสมบัติของดินลูกรังแทนที่ด้วยเถ้าก้นเตาสำหรับวัสดุงานทาง

ผู้แต่ง

  • อรฑิฌา จันทร์สิงห์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วีรยา ฉิมอ้อย

คำสำคัญ:

ดินลูกรัง, เถ้าก้นเตา, วัสดุงานทาง, ค่าCBR, การบดอัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาการนำเถ้าก้นเตาซึ่งเป็นวัสดุพลอยได้จากการผลิตกระแสไฟฟ้าในการแทนที่ดินลูกรังสำหรับชั้นรองพื้นทางหรือชั้นพื้นทาง โดยคัดขนาดดินลูกรังตามมาตรฐานรองพื้นทาง ทล.-ม. 205/2532 Type B และ Type D และเถ้าก้นเตาจากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี จังหวัดระยอง สัดส่วนการแทนที่เถ้าก้นเตาของ Type B ที่ร้อยละ 10, 20, 30, 40 และ 50 และของ Type D ที่ร้อยละ 10, 20, 30, 40, 50 และ 60 โดยศึกษาคุณสมบัติด้านกายภาพ การบดอัด กำลังรับน้ำหนักด้วยการทดสอบ California Bearing Ratio และกำลังรับแรงเฉือนตรงด้วยการทดสอบ Direct Shear สำหรับคุณสมบัติการบดอัดพบว่าค่าความหนาแน่นแห้งสูงสุดของดินลูกรังผสมเถ้าก้นเตามีค่าลดลงเมื่ออัตราส่วนการแทนที่เถ้าก้นเตามากขึ้น แต่ค่าความชื้นเหมาะสมเพิ่มขึ้น สำหรับดินทั้งสองชนิด และผลการทดสอบคุณสมบัติด้านกำลังรับน้ำหนัก พบว่าเมื่อผสมเถ้าก้นเตาที่สัดส่วนการแทนที่ร้อยละ 30 ของดิน Type B และที่อัตราส่วนการแทนที่ร้อยละ 50 ของดิน Type D จะให้ค่า CBR สูงสุด โดยมีค่าผ่านมาตรฐานชั้นรองพื้นทางและชั้นพื้นทาง และการแทนที่ด้วยเถ้าก้นเตามีผลทำให้ค่ามุมเสียดทานภายในและแรงยึดเหนี่ยวมีค่าลดลงไม่มากนักตามปริมาณเถ้าก้นเตาที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าเถ้าก้นเตาสามารถนำมาใช้แทนที่ดินลูกรังสำหรับวัสดุงานทาง

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

กรมทางหลวงชนบท “มทช. 202-2545 มาตรฐานวัสดุรองพื้นทาง” [ออนไลน์ 7 มิถุนายน 2562], www.http://research.drr.go.th/th/node/227

กรมทางหลวง “ทล.-ม. 205/2532 มาตรฐานรองพื้นทางวัสดุมวลรวม” [ออนไลน์ 7 มิถุนายน 2562], www.doh.go.th/doh/images/aboutus/standard/01/dhs205-32.pdf

กรมโยธาธิการและผังเมือง “มยผ. 2102-57 มาตรฐานวัสดุรองพื้นทาง” [ออนไลน์ 7 มิถุนายน 2562], www.http://subsites.dpt.go.th/edocument/index.php/sd-work/4-2017-04-03-02-26-37

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย “ยิปซั่มจากเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์” [ออนไลน์ 14 กรกฎาคม 2562], http://maemoh.egat.com/index.php/89-sarat/88-sarat

โรงไฟฟ้า บีแอลซีพี พาวเวอร์ “ระบบดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์” [ออนไลน์ 14 กรกฎาคม 2562], http://maemoh.egat.com/index.php/89-sarat/88-sarat

ปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “การบดอัดดิน” [ออนไลน์ 16 สิงหาคม 2561], https://pulpong.files.wordpress.com/2015/08/6compaction.pdf

ปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “แคลิฟอร์เนีย แบริ่ง เรโช” [ออนไลน์ 16 สิงหาคม 2561], https://pulpong.files.wordpress.com/2015/08/9cbr.pdf

มนตรี คงสุข,สรัณกร เหมะวิบูลย์,สนธยา ทองอรุณศรี และ สมนึก ตั้งเติมสิริกุล “ผลของเถ้าลอย ผงหินปูน และเถ้าก้นเตาต่อพฤติกรรมการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวของคอนกรีต” การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 19 จ.ขอนแก่น 14-16 พฤษภาคม 2557

รณภูมิ ลิ่มสวัสดิ์ และ ประทีป ดวงเดือน “การปรับปรุงคุณภาพของดินลูกรังโดยใช้เถ้าหนักและเศษปูนขาว” การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 12-14 พฤษภาคม 2553

ชูศักดิ์ คีรีรัตน์ “การศึกษาคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของเถ้าก้นเตาผสมหินฝุ่นและปูนซีเมนต์เพื่อใช้ในงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม” รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 2556

ไกรวุฒิ ตันติสุขารมย์, ธนวัฒน์ โชคสว่างเนตร, ปิยะพล สีหาบุตร และ เรืองรุชดิ์ ชีระโรจน์ “การใช้ประโยชน์ของเถ้าก้นเตาบดละเอียดในคอนกรีตสมรรถนะสูง” วารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 2555

ปณิดาภา พันธุ์อร่าม และ จุฑามาศ ยกครุฑ “การใช้เถ้าก้นเตาผสมดินลูกรังสำหรับชั้นรองพื้นทาง” ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561

นายปวเรศ เมฆกระจ่าง และ นายอัครินทรฺ์ เรืองสมานวงศ์ “พฤติกรรมด้านกำลังของดินลูกรังปรับปรุงด้วยเถ้าก้นเตาและเถ้าลอย” ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561

นันธวัฒน์ สุขบางนบ และ จิรวัฒน์ อัศวรัตนจินดา “การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังโดยใช้เถ้าก้นเตา” ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง