ผลกระทบจากการรบกวนตัวอย่างดินต่อพารามิเตอร์หน่วยแรงประสิทธิผลของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ

ผู้แต่ง

  • ณัฐสิทธิ์ ทองเลิศ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภินิติ โชติสังกาศ

คำสำคัญ:

soft bangkok clay, effective strength parameter, negative pore water pressure, matric suction

บทคัดย่อ

บทความนี้เสนอการศึกษาผลกระทบจากกระบวนการเก็บตัวอย่างดินต่อพารามิเตอร์กำลังรับแรงเฉือนในสภาวะไม่ระบายน้ำ () และหน่วยแรงประสิทธิผลของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ โดยศึกษารูปแบบการเก็บตัวอย่างดินแบบไม่ถูกรบกวนโดยใช้กระบอกเปลือกบางและพิจารณาวิธีการเก็บตัวอย่าง การขนส่ง และจัดเก็บรักษาตัวอย่าง ซึ่งมีอิทธิพลต่อหน่วยแรงประสิทธิผลของก้อนตัวอย่างดินและอาจทำให้มีค่าหน่วยแรงประสิทธิผลแตกต่างจากสภาวะในสนาม โดยใช้วิธีการทดสอบกำลังรับแรงอัดแบบไร้ขอบเขตชนิดวัดแรงดูด (SUC) หรือแรงดันน้ำในโพรงดินที่มีค่าติดลบด้วยการประยุกต์ใช้เครื่องมือเทนซิโอมิเตอร์ตรวจวัดแรงดูดก้อนดินภายหลังการเก็บตัวอย่าง ซึ่งจะทำให้ทราบสภาวะของหน่วยแรงประสิทธิผลที่คงค้างในดินและทำการเปรียบเทียบกับการทดสอบกำลังต้านทานแรงเฉือนโดยใช้ใบพัด (FVT) ซึ่งพบว่าค่า แบบไม่ถูกรบกวน ซึ่งปรับแก้ด้วยดัชนีพลาสติก () และไม่ปรับแก้ ให้ค่าสูงกว่า

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง

[1]
ทองเลิศ ณ. และ โชติสังกาศ อ. 2020. ผลกระทบจากการรบกวนตัวอย่างดินต่อพารามิเตอร์หน่วยแรงประสิทธิผลของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), GTE12.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##