สภาพความชื้นต่อกำลังของหินศิลาแลงสำหรับการก่อสร้างที่ไม่ใช้วัสดุเชื่อมประสาน

  • แสงสุรีย์ พังแดง สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ดารุณี แก้วพิกุล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธวัชชัย โทอินทร์ สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมโยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • ศราวรณ์ ศาศวัตภิรมย์ บริษัท ไทยอาร์ตไนน์ จำกัด
คำสำคัญ: กำลัง, ความชื้น, หินศิลาแลง, เชื่อมประสาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของหินศิลาแลงเพื่อการก่อสร้างโครงสร้างทางวัฒนธรรมโบราณที่มีการกำหนดไม่ให้มีการใช้วัสดุเชื่อมประสานเพื่อคงความเป็นอัตลักษณ์และความสวยงาม โดยทำการศึกษาวัสดุศิลาแลงธรรมชาติจากพื้นที่อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ทำการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุศิลาแลงที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพความชื้น พบว่าวัสดุที่มีสภาพความชื้นที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่สภาพแห้งในอากาศจนถึงสภาพเปียกน้ำมีหน่วยน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น แต่ความแข็งแรงลดลงตามลำดับ โดยที่สภาพเปียกน้ำวัสดุจะหนักและอ่อนแอที่สุด คือ มีหน่วยน้ำหนักท่ากับ 2769 กก/ม3 ค่ากำลังรับแรงอัดเท่ากับ 53 กก/ซม2 ค่าโมดูลัสแตกร้าวเท่ากับ 2 กก/ซม2 ค่ากำลังรับแรงเฉือนเท่ากับ 13 กก/ซม2  และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตย์ที่ผิวเท่ากับ 0.56 การเลือกใช้คุณสมบัติของวัสดุศิลาแลงนี้ในสภาพวิกฤตคืออยู่ในสภาพเปียกน้ำในการออกแบบโครงสร้าง จะทำให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งานจริงและโครงสร้างมีความปลอดภัย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-07
How to Cite
[1]
พังแดงแ., แก้วพิกุลด., โทอินทร์ธ. และ ศาศวัตภิรมย์ ศ. 2020. สภาพความชื้นต่อกำลังของหินศิลาแลงสำหรับการก่อสร้างที่ไม่ใช้วัสดุเชื่อมประสาน. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), WRE35.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้