ลักษณะการยึดเกาะของจีโอโพลิเมอร์เพสต์กับมวลรวมละเอียดต่างชนิดกัน

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย โทอินทร์ สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมโยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • แสงสุรีย์ พังแดง
  • สุบรร ผลกะสิ
  • สมหมาย สงบาง
  • สิทธิศักดิ์ อันทะผาลา

คำสำคัญ:

จีโอโพลิเมอร์, วัสดุรีไซเคิล, โครงสร้างทางจุลภาค, แรงยึดเหนี่ยวที่ผิวมวลรวม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

เป็นที่ทราบกันดีว่าการยึดเกาะกันระหว่างจีโอโพลิเมอร์เพสต์และผิวของมวลรวมเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการยึดเกาะระหว่างเพสต์กับมวลรวมละเอียดหรือมวลรวมหยาบล้วนส่งผลต่อความสามารถในการรับแรงได้ของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์หรือจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต ในการทดสอบความสามารถในการยึดเกาะของจีโอโพลิเมอร์เพสต์กับมวลรวมครั้งนี้ ได้ทำการรวบรวมลักษณะการยึดเกาะกันระหว่างจีโอโพลิเมอร์เพสต์และมวลรวมละเอียดที่ต่างชนิดกัน ได้แก่ ทรายแม่น้ำ เศษคอนกรีตรีไซเคิล เศษหินปูนย่อย และเศษแก้ว โดยทำการตรวจสอบรอยต่อระหว่างจีโอโพลิเมอร์เพสต์และผิวมวลรวมละเอียดด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Micro Scope) จากการตรวจสอบพบว่า จีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ที่มีทรายแม่น้ำเป็นส่วนผสมให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด เนื่องจากการยึดเกาะกันระหว่างมวลรวมละเอียดและจีโอโพลิเมอร์เพสต์มีความทึบแน่นซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด

 

 

 

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-07