การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตโดยใช้คอนกรีตผสมมวลรวมรีไซเคิลแบบย่อยซ้ำ

  • คณุตม์ สมบูรณ์ปัญญา
  • ภูษิต บุญยฤทธิ์
  • วงศกร สิมมา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ชิษณุพงศ์ สุธัมมะ
คำสำคัญ: มวลรวมหยาบรีไซเคิล, มวลรวมหยาบรีไซเคิลแบบย่อยซ้ำ, กำลังรับแรงอัด, การกัดกร่อนของเหล็กเสริม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากเศษคอนกรีตที่เหลือใช้จากการทุบทำลายสิ่งก่อสร้างนั้นมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตผสมมวลรวมหยาบรีไซเคิล (RCA) และคอนกรีตผสมมวลรวมหยาบรีไซเคิลแบบย่อยซ้ำ (MRCA) อันได้แก่ การทดสอบการหาค่าความหนาแน่น, การทดสอบการหาค่าอัตราการดูดซึมน้ำ, การทดสอบการหาค่ากำลังรับแรงอัด และการทดสอบหาอัตราการกัดกร่อนของเหล็กเสริมด้วยวิธีวัดค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ (Half-cell potential) และนำผลการทดสอบที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบของคอนกรีตผสมมวลรวมหยาบจากธรรมชาติ (NCA) โดยตัวอย่างจะใช้ RCA และ MRCA โดยนำไปแทนที่ NCA ในอัตราส่วนร้อยละ 25, 50, 75 และ 100 โดยปริมาตรตามลำดับ ค่ากำลังรับแรงอัดที่ออกแบบไว้เท่ากับ 240 กก/ตร.ซม. จากผลการทดสอบที่อายุ 28 วัน พบว่าเมื่อแทนที่ด้วย RCA และ MRCA ในอัตราส่วนร้อยละ 25 จะมีค่าความหนาแน่นและค่ากำลังรับแรงอัดมากที่สุด เมื่อแทนที่ด้วย RCA และ MRCA ในอัตราส่วนร้อยละ 100 จะมีค่าอัตราการดูดซึมน้ำมากที่สุด ส่วนการทดสอบการกัดกร่อนของเหล็กเสริมด้วยวิธีวัดค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ เมื่อแทนที่ด้วย RCA ในอัตราส่วนร้อยละ 25 จะมีค่าอัตราการเกิดสนิมของเหล็กเสริมช้าที่สุด โดยค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์สูงที่สุดที่ทำให้คอนกรีตมีสนิมและเกิดรอยร้าวจะใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 17 วัน เมื่อแทนที่ด้วย RCA ในอัตราส่วนร้อยละ 100 จะมีค่าอัตราการเกิดสนิมของเหล็กเสริมเร็วที่สุด โดยค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์สูงที่สุดที่ทำให้คอนกรีตมีสนิมและเกิดรอยร้าวจะใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 5 วัน จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าค่าความหนาแน่นและค่ากำลังรับแรงอัดของมวลรวมรีไซเคิลจะมีค่าลดลงตามอัตราส่วนการแทนที่ของRCA และ MRCA ที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนการหาค่าอัตราการดูดซึมน้ำของมวลรวม รีไซเคิลจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนการแทนที่ของ RCA และ MRCA ที่เพิ่มมากขึ้น และการหาค่าอัตราการกัดกร่อนของเหล็กเสริมด้วยวิธีวัดค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ โดยค่าอัตราการเกิดสนิมของเหล็กเสริมจะมีค่าเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนการแทนที่ของ RCA ที่เพิ่มขึ้น

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

สำเริง รักซ้อน. 2552. ทฤษฏีและการทดสอบคอนกรีตเทคโนโลยี (Theory and Testing Concrete Technology). ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

วันชัย สะตะ. 2560. คอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmentally Friendly Concrete). ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

เทิดศักดิ์ สายสุทธิ์. 2555. RCA จากส่วนที่เหลือของเสาเข็มคอนกรีต, น. 1-11. ในรายการประชุมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

นราวิชญ์, อภิสิทธิ์ และสุภาวดี. 2019. การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตโดยใช้คอนกรีตทดสอบแล้วเป็นมวลรวมรีไซเคิล. ปริญญานิพนธ์ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน.

Vilson Abreu, Luís Evangelista and Jorge de Brito. 2018. The effect of multi-recycling on the mechanical performance of coarse recycled aggregates concrete. Construction and Building Materials 188: 480-489.

สลิลา รักวณิชย์ และวันชัย ยอดสุดใจ. 2017. ประสิทธิภาพของระบบป้องกันการเกิดสนิมในเหล็กเสริมโดยวิธีกัลวานิกคาโทดิก, น. 516-523. ในรายการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน, กรุงเทพมหานคร.

Job Thomas, Nissif Nazeer Thaickavil and P.M.Wilson. 2018. Strength and durability of concrete containing crushed concrete aggregate. Journal of Building Engineering: 349-365.

Chaocan Zheng, Cong Lou, Geng Du, Xiaozhen Li, Zhiwu Liu and Liqin Li. 2018. Mechanical properties of recycled concrete with demolished waste concrete aggregate and clay brick aggregate. Results in Physics 9: 1317-1322.

Tomas U. Ganiron Jr. 2015. Recycling concrete debris from construction and demolition waste. International Journal of Advanced Science and Technology Vol.77: 7-24.

Adel El-Kurdey. 1992. Corrosion of reinforced steel in concrete. Institute of Graduate Studies & Research, Alexandria University.

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา. 2540. ข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้างสำหรับโครงสร้างคอนกรีต. ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพมหานคร.

ASTM C 876-91. 1999. Standard Test Method for Half-Cell Potentials of Uncoated Reinforcing Steel.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
สมบูรณ์ปัญญาค., บุญยฤทธิ์ภ., สิมมาว. และ สุธัมมะช. 2020. การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตโดยใช้คอนกรีตผสมมวลรวมรีไซเคิลแบบย่อยซ้ำ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), STR38.