การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์จากวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมน้ำตาล
คำสำคัญ:
คอนกรีตมวลเบา, ความหนาแน่น, กำลังรับแรงอัด, เถ้าชานอ้อย, กากปูนขาวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์ และศึกษากำลังรับแรงอัดและความหนาแน่น โดยใช้เถ้าชานอ้อย และ กากปูนขาวมาแทนที่ซีเมนต์และสามารถนำคอนกรีตมวลเบาที่พัฒนามาจากเถ้าชานอ้อย และ กากปูนขาวมาใช้ในงานก่อสร้าง โดยใช้การเทียบเท่าด้วย มอก.2601-2556 ชั้นคุณภาพ C9 ซึ่งมีค่ากำลังรับแรงอัดมากกว่า 25.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และค่าความหนาแน่นมีค่าเท่ากับ 801-900 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในการคำนวณส่วนผสมของเถ้าชานอ้อยและกากปูนขาวได้ใช้การคำนวณจากสูตรต้นแบบ ที่อัตราส่วนผสมระหว่างปูนต่อทรายที่ 1.00 : 1.00 และส่วนผสมระหว่างน้ำต่อซีเมนต์ (W/C) 0.50 : 1.00 ที่มีความหนาแน่น และค่าของกำลังรับแรงอัด ใกล้เคียงกับ มอก.2601-2556 ชั้นคุณภาพ C9 มากที่สุด ในอายุการบ่ม 7, 14 และ 28 วัน โดยการนำเถ้าชานอ้อยและกากปูนขาวมาแทนที่ร้อยละ 5 ถึง 35 ในอัตราส่วนผสมของซีเมนต์จากการทดสอบพบว่าการแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยที่มีค่าความหนาแน่นมากที่สุด เมื่อแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยร้อยละ 20 และมีกำลังรับแรงอัดที่ได้มากสุดเมื่อแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยร้อยละ 15 ส่วนการแทนที่ด้วยกากปูนขาวพบว่ามีค่าความหนาแน่นที่มากสุดเมื่อแทนที่ด้วยกากปูนขาวร้อยละ 30 และกำลังรับแรงอัดที่มีมากที่สุดเมื่อแทนที่ด้วยกากปูนขาวร้อยละ 5 เมื่อนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับ มอก.2601-2556 ชั้นคุณภาพ C9 แล้วพบว่า เถ้าชานอ้อยไม่สามารถนำมาแทนที่ซีเมนต์ และคอนกรีตมวลเบาที่แทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยและกากปูนขาว ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาดได้ ส่วนกากปูนขาวสามารถนำมาแทนที่ซีเมนต์ได้และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างได้จริงซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ของเหลือจากอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สุชา กิตติวรารัตน์ และ ภูษิต เลิศวัฒนารักษ์ (2555). การจัดการเพื่อลดเศษวัสดุในงานสถาปัตยกรรม. (สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง.
กลุ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (2561). การผลิตไฟฟ้าและไอน้ำของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล, สิงหาคม 2561, หน้า 1
ดิศราภรณ์ ศรีนาค (2557). คอนกรีตผสมเถ้าชานอ้อย, https://sites.google.com/a/email.nu.ac.th/bamboo-architecture/concrete
nucifer. ม.ป.ป. (2557). อิฐมวลเบา: ข้อดีข้อเสียของวิธีการผลิตอิฐมวลเบา แบบ AAC และ CLC. (Online). http://www.nucifer.com /2014/ 12/05/อิฐมวลเบา_aac clcจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการนำมาพัฒนาให้ดีขึ้น, 15 เมษายน 2563.
ดศิสกุล อึ้งตระกูล (2557). การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์จากกากปูนขาวในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดร.วีระศักดิ์ ละอองจันทร์, อมเรศ บกสุวรรณ, ดร.หมิง จิ๋ง และ นิติ วิทยาวิโรจน์ (2553). การพัฒนาบล็อกแก้วคอนกรีตมวลเบาโดยการผสมฝุ่นจากเตาเผาปูนขาว-ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
วสวัตติ์ เอกพานิช (2555). ปัญหากฎหมายการจัดการฝุ่นละอองจากการก่อสร้างอาคาร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2556). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ. มอก. 2601-2556
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์