การศึกษารูปแบบของจุดควบคุมภาพที่มีผลต่อความถูกต้องของแผนที่ จากการรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ

  • รัฐภูมิ ตั้งภูมิจิต
  • สราวุธ ส่งแสง
  • อภิสิทธิ์ ภาสดา
  • คมศิลป์ วังยาว
  • ธีระ ลาภิศชยางกูล
คำสำคัญ: การรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศ, อากาศยานไร้คนขับ, จุดควบคุมภาพ, แผนที่บ่อฝังกลบขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและจำนวนของจุดควบคุมภาพที่ส่งผลต่อความถูกต้องเชิงตำแหน่งในการทำแผนที่บ่อฝังกลบขยะมูลฝอยแบบถูกหลักสุขาภิบาลของเทศบาลนครนครปฐม ขนาด 33 ไร่ ในการศึกษาได้กำหนดจุดควบคุมภาพและจุดตรวจสอบ ทั้งหมด 37 จุด กำหนดค่าความละเอียดของจุดภาพบนพื้นดิน (Ground Sample Distance, GSD) เท่ากับ 5 ซม./จุดภาพ การซ้อนทับภาพด้านหน้าและด้านข้างเท่ากับร้อยละ 80 และ 75 ตามลำดับ โดยกำหนดรูปแบบจุดควบคุมภาพออกเป็น 6 แบบ ได้แก่ การกระจายตัวแบบขอบ แบบส่วนกลาง แบบมุม แบบแบ่งครึ่ง แบบไขว้ และแบบกริด จากการประมวลผลด้วยโปรแกรม Agisoft PhotoScan Professional V.1.4.4 เพื่อสร้างความหนาแน่นของจุดภาพ แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข และภาพถ่ายดิ่ง พบว่าในภาพรวมการกระจายตัวแบบกริดให้ความถูกต้องในแนวราบและแนวดิ่งได้ดีที่สุด จากนั้นทำการศึกษาจำนวนจุดควบคุมภาพที่เหมาะสมตั้งแต่ 4, 6, 8, 10, 12, 14, และ 16 จุด ผลการศึกษาพบว่าความถูกต้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อจำนวนจุดควบคุมภาพเพิ่มขึ้น และเริ่มคงที่เมื่อจุดควบคุมภาพตั้งแต่ 8 จุด สำหรับแนวราบและแนวดิ่ง โดยเมื่อเทียบกับมาตรฐาน ASPRS 2014 พบว่าภาพถ่ายดิ่งจริงที่ได้สามารถนำไปใช้สำหรับงานที่มีความถูกต้องสูงสุดได้และให้ผลความถูกต้องทางดิ่งของแบบจำลองระดับสูงเชิงเส้นอยู่ในชั้นความถูกต้องทางดิ่งที่ 5 ซม.

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
ตั้งภูมิจิตร., ส่งแสงส., ภาสดาอ., วังยาวค. และ ลาภิศชยางกูลธ. 2020. การศึกษารูปแบบของจุดควบคุมภาพที่มีผลต่อความถูกต้องของแผนที่ จากการรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI04.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์