การศึกษาความสูงและความเร็วการบินถ่ายภาพ ที่มีผลต่อความถูกต้องในการทำแผนที่ด้วยด้วยอากาศยานไร้คนขับ

  • ปาริชาต สุขนาค ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • นพรุจ เพชรทอง
  • อภิสิทธิ์ ภาสดา
  • คมศิลป์ วังยาว
  • ธีระ ลาภิศชยางกูล
คำสำคัญ: ภาพถ่ายทางอากาศ, รูปแบบการบิน, อากาศยานไร้คนขับ, การทำแผนที่ด้วยอากาศยานไร้คนขับ

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความถูกต้องของการทำแผนที่ด้วยภาพถ่ายทางอากาศโดยศึกษาผลกระทบของความสูงบิน และความเร็วที่ใช้ในการบินถ่ายภาพด้วยอากาศยานไร้คนขับราคาถูก  โดยทำการบินถ่ายภาพเหนือพื้นที่บ่อฝังกลบขยะมูลฝอยขนาด 10 ไร่ มีรูปแบบการบิน 4 กรณี คือ การบินแบบเคลื่อนที่พร้อมถ่ายภาพและแบบหยุดนิ่งเพื่อถ่ายภาพแต่ละรูปแบบกำหนดความสูงบินให้มีความละเอียดของจุดภาพที่ 3.5 และ 5 ซม./จุดภาพ กำหนดการซ้อนทับของภาพด้านหน้าและด้านข้าง 80% และ 75% ตามลำดับ ใช้จุดควบคุมภาพและจุดตรวจสอบจำนวน 5 และ 15 จุดตามลำดับ โดยใช้การรังวัดดาวเทียมแบบจลน์ในการหาค่าพิกัดของจุดดังกล่าว จากนั้นทำการประมวลผลด้วยโปรแกรม Agisoft Photoscan Professional V.1.4.4 เพื่อสร้างความหนาแน่นของจุดระดับสำหรับแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข และภาพถ่ายดิ่งจริง งานวิจัยนี้ใช้ค่า RMSE ในการประเมินความถูกต้องทั้งทางราบและทางดิ่ง โดยใช้มาตรฐาน ASPRS 2014 ในการระบุชั้นคุณภาพของงาน จากการคำนวณพบว่า รูปแบบการบินที่ให้ค่าความถูกต้องดีที่สุดคือ การบินถ่ายภาพแบบหยุดนิ่งเพื่อถ่ายภาพที่ความละเอียดของจุดภาพ 5 ซม./จุดภาพ สามารถผลิตภาพถ่ายดิ่งจริง สำหรับใช้ในงานที่มีความละเอียดสูงสุดได้ และให้ผลความถูกต้องทางดิ่งอยู่ในชั้นความถูกต้องทางดิ่งที่ 5 ซม.

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
สุขนาคป., เพชรทองน., ภาสดาอ., วังยาวค. และ ลาภิศชยางกูลธ. 2020. การศึกษาความสูงและความเร็วการบินถ่ายภาพ ที่มีผลต่อความถูกต้องในการทำแผนที่ด้วยด้วยอากาศยานไร้คนขับ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI01.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์