การหาความเหมาะสมของการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณด้วยวิธีความน่าเชื่อถือ สำหรับอาคารโครงการศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (USO Net)

  • พันกฤษ โยธินธนะรัชต์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สหรัฐ พุทธวรรณะ
คำสำคัญ: การวิเคราห์หาความเหมาะสมในการออกแบบด้วยวิธีความน่าเชื่อถือของโครงสร้าง, การวิเคราะห์ความน่าเชื่อของระบบโครงสร้าง, ดัชนีความน่าเชื่อถือ, ความน่าจะเป็นของการเกิดการวิบัติ, ดัชนีความน่าเชื่อถือเป้าหมาย, จุดออกแบบ

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์หาความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารในประเทศไทยใช้ข้อกำหนด (CODE) และมาตรฐานการออกแบบ (STANDARD DESIGN) เช่น ACI Code, ASCE, AISC, EURO Code และ วสท.,มยผ.,เทศบัญญัติ กทม.เป็นต้น เพื่อใช้หาค่าผลการคำนวณออกแบบที่เป็นแบบรูปรายการรวมทั้งรายการประกอบแบบทางโครงสร้างต่าง ๆ โดยผลลัพธ์ที่ได้นั้นมาจากเงื่อนไขการออกแบบ(Criteria Condition) และควบคุมกระบวนการคำนวณหาตัวเลขด้วยค่าตัวคูณเพิ่มน้ำหนัก (Load Factor) กับค่าตัวคูณลดกำลังต้านทาน (Resistance Factor) ค่าการโก่งตัวที่ยอมให้และการตรวจสอบสอบความมั่นคงของโครงสร้าง (Stability) ซึ่งเป็นการคำนวณออกแบบด้วยสภาวะขีดจำกัด (Limit State) การวิเคราะห์หาความน่าเชื่อถือของโครงสร้าง (Reliability of Structure) นั้นเป็นการใช้การวิเคราะห์หาความน่าจะเป็นของความปลอดภัยของโครงสร้าง (Probability of Survival) โดยมองที่ความน่าจะเป็นที่จะเกิดการวิบัติ (Probability of Failure) ที่เป็นค่าตรงข้ามกันถ้ารวมกันแล้วต้องมีค่าเท่ากับ 1 และควบคุมด้วยค่าดัชนีความน่าเชื่อถือ (Reliability Index) เมื่อคำนวณได้ค่าออกมาแล้วต้องไม่เกินค่าดัชนีความน่าเชื่อถือเป้าหมาย(Reliability Index Target) ที่กำหนดวางไว้ ซึ่งอาศัยการรวบรวมข้อมูลจากทางหน้างานที่มีการก่อสร้างมาเข้ารูปแบบตารางสถิติแล้วหาค่าพารามิเตอร์ทางสถิติที่ต้องใช้ในสมการเพื่อคำนวณต่อไปได้แก่ ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ค่าความแปรปรวน(Covariance) ค่าเอนเอียง(Bias)

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
โยธินธนะรัชต์พ. และ พุทธวรรณะส. 2020. การหาความเหมาะสมของการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณด้วยวิธีความน่าเชื่อถือ สำหรับอาคารโครงการศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (USO Net). การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), STR29.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้