การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของโครงสร้างฐานรากแผ่ สำหรับพื้นที่ชั้นดินเหนียว และชั้นทราย กรณีศึกษา : โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (USO NET) ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กรณีศึกษา : โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (USO NET) ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • เพ็ญวิสุทธิ์ ยิ้มเเฉ่ง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สหรัฐ พุทธวรรณะ
คำสำคัญ: คำสำคัญ: ค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือ, ค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือเป้าหมาย, โครงสร้างฐานรากแผ่, ค่ารับน้ำหนักบรรทุกสูงสุด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของโครงสร้างฐานรากแผ่ กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (USO NET) โดยสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาแรงกระทำที่เกิดขึ้นจริงต่อฐานรากแผ่ และหาค่ารับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของดินที่รองรับฐานรากแผ่ (Spread Foundation) ประเภทฐานรากสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตั้งแต่ระดับพื้นดิน จนถึงระดับความลึกในแต่ละระดับชั้น ด้วยวิธีการเจาะสำรวจดินด้วยหลุมเจาะ (Boring Test) โดยทำการจำแนกประเภทของดินเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ชั้นดินเหนียว และชั้นทราย ของจังหวัดในแถบพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อนำมาหาค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือ (Reliability Index) ของโครงสร้างฐานรากแผ่ อีกทั้งค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือเป้าหมาย (Target Reliability Index) จากการศึกษาพบว่าสามารถนำข้อมูลค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือของโครงสร้างฐานรากแผ่ เพื่อไปใช้อ้างอิงหรือเป็นประโยชน์ในการก่อสร้างฐานรากแผ่ในเขตพื้นที่นั้นๆต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

สหรัฐ พุทธวรรณะ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
ยิ้มเเฉ่งเ. และ พุทธวรรณะส. 2020. การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของโครงสร้างฐานรากแผ่ สำหรับพื้นที่ชั้นดินเหนียว และชั้นทราย กรณีศึกษา : โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (USO NET) ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), STR15.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้