การพัฒนาและต่อเติมโครงข่ายทางหลวงชนบท เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
คำสำคัญ:
ถนนสายรองที่สำคัญ, วิศวกรรมขั้นสูง, มาตรฐานการออกแบบบทคัดย่อ
ร่างแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉบับที่ 3 ได้กำหนดความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ให้ก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญให้เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด ดังนั้น กรมทางหลวงชนบทจึงมีความจำเป็นต้องนิยามคำจำกัดความ และจำแนกประเภทของถนนสายรองที่สำคัญ ตลอดจนพัฒนาต่อเติมโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญให้สอดคล้องกับสาระที่กำหนดไว้ในร่างแผนดังกล่าว โดยให้สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 4 (เพชรบุรี) เป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ซึ่งปรากฏผลว่า ถนนสายรองที่สำคัญที่กรมทางหลวงชนบทต้องรับผิดชอบ คือ ถนนสายรองที่แบ่งประเภทตามยุทธศาสตร์ของกรมทางหลวงชนบทและพื้นที่ โดยต้องใช้วิศวกรรมขั้นสูงในการดำเนินงานและมีมาตรฐานการออกแบบถนนแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน โดยจำแนกถนนสายรองที่สำคัญเป็น 7 ประเภท ตามยุทธศาสตร์ และเชื่อมต่อโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญ ได้ถนนทางหลวงชนบทที่เชื่อมระหว่างจังหวัด จำนวน 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,217.375 กิโลเมตร ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญที่เชื่อมระหว่างจังหวัดในภาพรวมของกรมทางหลวงชนบท ตลอดจนสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในการออกแบบถนนทางหลวงชนบท ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของถนนแต่ละประเภท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามนัยความรับผิดชอบ ในอนาคต
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
##category.category##
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์