การต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ปราศจากความเหนียว

  • อมรชัย ใจยงค์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชานนท์ กวางเจริญ
คำสำคัญ: การต้านทานแผ่นดินไหว, อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, ปราศจากความเหนียว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกาการต้านทานแรงแผ่นดินไหวของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ปราศจากความเหนียวในประเทศไทย อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กนำมาใช้เพื่อประเมินความสามารถในการต้านทานแรงแผ่นดินไหวโดยอาคารจะถูกสมมติให้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทยที่มีระดับความรุนแรงในการเกิดแผ่นดินไหวแตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ บริเวณพื้นที่เฝ้าระวัง บริเวณที่ 1 และบริเวณที่ 2 โดยโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กจะถูกพิจารณาเป็นแบบจำลองสองมิติ พฤติกรรมความเสียหายของอาคารจะแสดงอยู่ในรูปของจุดหมุนพลาสติกซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมุมหมุนกับโมเมนต์ดัด ซึ่งกฎของความสัมพันธ์นี้จะถูกควบคุมด้วยโมเมนต์ที่จุดคราก โมเมนต์สูงสุดและมุมหมุนสูงสุด จากผลการศึกษาเส้นโค้งสมรรถนะของโครงสร้างพบว่า โครงสร้างอาคารจะยังคงมีพฤติกรรมแบบยืดหยุ่นเมื่อแรงแผ่นดินไหวที่กระทำไม่เกิน 10653 กิโลกรัม และโครงสร้างอาคารสามารถต้านทานแรงสูงสุดในช่วงไม่ยืดหยุ่นได้ไม่เกิน 17,140 กิโลกรัมก่อนที่โครงสร้างจะเข้าสู่สภาวะพังทลายและเมื่ออาคารถูกกระทำด้วยแรงแผ่นดินไหวจากพื้นที่เสี่ยงภัยทั้ง 3 โซน พบว่า อาคารเกิดความเสียหายที่เสาและคานอย่างรุ่นแรง โดยพฤติกรรมโดยรวมของอาคารเกิดกว่าระดับสมรรถนะป้องกันการพังทลายนั่นหมายถึงอาคารจะเกิดการวิบัติเมื่อถูกกระทำด้วยแรงแผ่นดินไหวสูงสุดจากเขตพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] Sezen, H. (2002). Seismic behavior and modeling of reinforced concrete building columns.Ph.D.Thesis, University of California, Berkeley.
[2] Chenouda, M. and Ayoub, a. (2008). Inelastic displacement ratios of degrading system. Journal of Structural Engineering. 134:6, 1030-1045
[3] Jaiyong, A. and Chintanapakdee, C. (2011). Modal Pushover Analysis for Degrading Structures. Ph.D. Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
[4] Lowes, L.N., Mitra, N. and Altoontash, A. (2003). A Beam Column Joint Model for Simulating the Earthquake Response of Reinforced Concrete Frame, PEER Report 2003/10. Berkeley: Pacific Engineering Research Center, University of California
[5] Panagiotakos, T.B. and Fardis, M.N. (2001). Deformations of reinforced concrete members at yielding and ultimate. ACI Structural Journal. 98:2, 135-147.
[6] Haselton, C.B. and Deierlein, G.G. (2007). Assessing seismic collapse safety of modern reinforced concrete moment-frame buildings, Report No. 152. California: John A. Blume Earthquake Engineering Center, Stanford University.
[7] Applied Technology Council (ATC-40), “Seismic evaluation and retrofit of concrete buildings”, Vol. 1-2, California, 1996, pp 8-6.
[8] กรมโยธาธิการและผังเมือง, “มาตรฐานการออแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ.1301/1302-61”, พิมพ์ครั้งที่1, กรุงเทพฯ: สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2561.
[9] กรมโยธาธิการและผังเมือง, “มาตรฐานการออแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ.1302”, พิมพ์ครั้งที่1, กรุงเทพฯ: สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2552.
[10] กรมโยธาธิการและผังเมือง, “มาตรฐานการประเมินและการเสริมความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารในเขตที่อาจได้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ. 1303-57,” พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2557.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09