กระบวนการคัดเลือกผู้รับเหมาสำหรับโครงการก่อสร้างแท่นขุดเจาะก๊าซน้ำมัน
คำสำคัญ:
กระบวนการคัดเลือกผู้รับเหมา, การก่อสร้างแท่นขุดเจาะก๊าซน้ำมัน, การบริหารจัดการโครงการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการประเมินและคัดเลือกผู้รับเหมาสำหรับการก่อสร้างแท่นหลุมผลิตน้ำมันและก๊าซโดยทำการรวบรวมรายละเอียดเชิงลึกในกระบวนการการคัดเลือกผู้รับเหมาหลักและผู้รับเหมาช่วงจากบริษัทที่ดำเนินกิจการผลิตและก่อสร้างแท่นขุดเจาะก๊าซน้ำมันจำนวน 6 บริษัท ประกอบด้วยบริษัทผู้ผลิต 1 บริษัท และบริษัทผู้รับเหมางานก่อสร้างอีก 5 บริษัท ด้วยการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้จัดการโครงการ ผู้จัดการฝ่ายก่อสร้าง ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อและวิศวกรที่มีส่วนร่วมในกระบวนการคัดเลือกผู้รับเหมา การสัมภาษณ์ส่วนใหญ่จะรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์การทำงานของผู้ถูกสัมภาษณ์เพื่อนำไปใช้กับแนวทางในกระบวนการจัดการงานก่อสร้าง จากการศึกษาพบว่า ขั้นตอนในการคัดเลือกผู้รับเหมาประกอบด้วยกัน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตรวจคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เสนอโครงการ 2) การจัดทำร่างข้อเสนองาน 3) การยื่นซองประกวดราคา 4) การประเมินผู้ประกวดราคา และ 5) การประกาศผลการคัดเลือก โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่อการพิจารณาผู้ชนะการประมูลงานประกอบด้วย ความสามารถทางเทคนิค การวางแผนโครงการ ความสามารถในการผลิต และความสามารถในการทางการเงิน และในการศึกษานี้ได้เสนอเกณฑ์การถ่วงน้ำหนักที่ได้จากการสัมภาษณ์สำหรับการประเมินและคัดเลือกผู้รับเหมาในงานก่อสร้างแท่นขุดเจาะก๊าซน้ำมันและโครงการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องอื่นๆต่อใปในอนาคต
Downloads
เอกสารอ้างอิง
[2] Kritiga Tharavijitkul. (1991). Procurement Selection in Construction Project. The thesis of Master's Degree, Chulalongkorn University.
[3] นัทธพงศ์ ยาออม. (2550). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกผู้รับจ้างของโครงการก่อสร้างที่ใช้การจัดซื้อ-จัดจ้างออกแบบ-ก่อสร้าง. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
[4] Russell, J.S., Hancher, D.E., and Skibniewski. M J. (1992). Contractor prequalification data for construction owners. Construction Management and Economics, 10, p. 117-135.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์