การพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อวิเคราะห์เวลาในการอพยพหนีไฟ

ผู้แต่ง

  • ณชาภทร แสงจันทร์
  • ดารารัตน์ พันชะนะ
  • เพชร์รัตน์ ลิ้มสุปรียารัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การอพยพหนีไฟ, การป้องกันอัคคีภัย, การวิเคราะห์การไหล, แบบจำลองสารสนเทศอาคาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์เวลาในการอพยพหนีไฟออกจากอาคารโดยประยุกต์นำเทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) เพื่อจัดทำแนวทางการปรับปรุงระบบป้องกันอัคคีภัยสำหรับพื้นที่ภายในอาคารให้เป็นไปตามกฎกระทรวงและมาตรฐานการออกแบบเส้นทางหนีไฟ (มยผ. 8301) อาคารที่เลือกเป็นกรณีศึกษาเป็นอาคารโรงประลองที่มีความสูง 3 ชั้น จำนวน 5 อาคาร ตั้งอยู่ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลพื้นที่ในอาคารทั้งขนาด ขนาด ระยะ วัสดุและอื่นๆ เพื่อนำมาใช้สร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารพร้อมทั้งทำการตรวจสอบตามข้อกำหนดและมาตรฐาน วิธีการในการวิเคราะห์ระยะเวลาในการอพยพหนีไฟคือ การวิเคราะห์การไหล (Hydraulic analogy) ซึ่งมีตัวแปรที่สำคัญคือ จำนวนผู้ใช้อาคาร ขนาดพื้นที่ และความกว้างของประตู ผลการวิจัยแสดงถึงเวลาที่ใช้ในการอพยพหนีไฟของแต่ละอาคารและแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการป้องกันอัคคีภัยในรูปแบบ 3 มิติเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

[1] ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ อนุพงษ์ เผ่าจินดา (2559). สานพลังประชารัฐ สู่ประเทศไทยปลอดภัย. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ, กรุงเทพฯ, 11 สิงหาคม 2559, หน้า 1.
[2] ณัชชา เอกร่าเริงแสน. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมในแบบจำลองข้อมูลสารสนเทศอาคารเพื่อช่วยวิเคราะห์เส้นทางหนีไฟในอาคาร.วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ประเทศไทย
[3] พีรพัฒน์ วณิชลักษมี. (2553). สถานะและการประยุกต์ใช้แบบจำลองข้อมูลอาคารในองค์กรก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย
[4] กระทรวงมหาดไทย และ กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2558). สารบัญกฎหมายควบคุมอาคาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561, จาก http://www.dpt.go.th/wan/lawdpt/menu2.asp
[5] กระทรวงมหาดไทย และ กรมโยธาธิการและผังเมือง. [ม.ป.ป.]. มาตรฐานการออกแบบเส้นทางหนีไฟ(มยผ. 8301). [ม.ป.ท.].
[6] ธนายุทธ สิรินุตานนท์ และ อภิชาต แจ้งบำรุง. (2557). การวิเคราะห์เส้นทางหนีไฟและการคำนวณระยะเวลาอพยพหนีไฟโดยวิธี Hydraulic Flow Calculation กรณีศึกษา : อาคารสูงและขนาดใหญ่พิเศษ. วิศวกรรมสาร มก, ปีที่ 27,ฉบับที่ 90, หน้า 77-92.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08