ความแม่นยำของกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มจากการคำนวณ

ผู้แต่ง

  • ทินกร ทานา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สยาม ยิ้มศิริ

คำสำคัญ:

กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม, การทดสอบเสาเข็ม, ด้วยวิธีสถิตศาสตร์, ความแม่นยำ, ความแปรปรวน, สัดส่วนปลอดภัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาความแม่นยำและความแปรปรวนของการออกแบบกำลังของเสาเข็มจากการคำนวณด้วยวิธี Meyerhof (1976) ด้วยการเทียบสอบกับกำลังของเสาเข็มจากการทดสอบด้วยวิธีสถิตศาสตร์และวิธีพลศาสตร์สำหรับเสาเข็มที่มีปลายฝังในชั้นทราย โดยส่วนของแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มจะเทียบสอบกับผลการทดสอบด้วยวิธีพลศาสตร์  และส่วนของแรงต้านที่ปลายเสาเข็มจะเทียบสอบกับผลการทดสอบด้วยวิธีสถิตศาสตร์และพลศาสตร์  ผลการศึกษาพบว่ากำลังของเสาเข็มจากการทดสอบด้วยวิธีพลศาสตร์มีค่าเป็น 63% และ 68% ของกำลังของเสาเข็มจากการทดสอบด้วยวิธีสถิตศาสตร์สำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ แรงต้านที่ปลายเสาเข็มจากการคำนวณมีค่า 21% และ 52% ของแรงต้านที่ปลายเสาเข็มจริงสำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ และแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มจากการคำนวณมีค่า 42% และ 54% ของแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มจริงสำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ ส่วนกำลังของเสาเข็มจากการคำนวณมีค่า 34% และ 59% ของกำลังจากการทดสอบด้วยวิธีสถิตศาสตร์สำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ ความแปรปรวนของผลการคำนวณแรงต้านที่ปลายเสาเข็มจะมากกว่าของแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็ม โดยแรงต้านที่ปลายเสาเข็มให้ค่า COV เท่ากับ 0.88 และ 0.74 สำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ  และแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มให้ค่า COV เท่ากับ 0.46 และ 0.32 สำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ ดังนั้นจึงเสนอค่าสัดส่วนปลอดภัยเท่ากับ 5, 1.5, และ 2.5 สำหรับแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม, แรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็ม, และกำลังประลัยของเสาเข็ม ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

[1] Bowles, J. E. (1996). Foundation and Analysis Design. The McGraw-Hill Companies, Inc., pp.391-504.
[2] Dennis, N. D., and Olson, R. E. (1983). Axial Capacity of Steel Piles in Sand, ASCE conf. on Geotechnical Practice in Offshore Engineering, Austin, Texas.
[3] Meyerhof, G. G. (1976). Bearing Capacity and Settlement of Pile Foundations. Journal of the Geotechnical Engineering Division. American Society of Civil Engineers, Vol. 102, No. GT3, pp. 197–228.
[4] Ng, K. C., (1982). The construction problems and performance of large bored pile in 2nd sand layer. Asian Institute of Technology, Thailand, No. GT 82-26
[5] Samuel G. Paikowsky and Terry A. Tolosko. (1999). Extrapolation of Pile Capacity from Non-Failed Load test U.S. Department of Transportation: FHWA-RD-99-170
[6] Seed, H. B., Arango, I., and Chan, C. K. (1975). Evaluation of Soil Liquefaction Potential during Earthquakes, Report No. EERC 75-28, Earthquake Engineering Research Center, University of California, Berkeley.
[7] พีชยา ทวีเลิศ (2539). การประเมิณการทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ในชั้นดดินกรุงเทพฯ และระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[8] วรรณวรางค์ รัตนานิคม และ สยาม ยิ้มศิริ (2561). การประเมินความแม่นยำ8ของค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม โดยวิธีสถิตยศาสตร์. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23, นครนายก, 18-20 กรกฎาคม 2561

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##