การศึกษาปัญหาในการบริหารงานก่อสร้างประเภทอาคารในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคา

  • วรรณวรางค์ รัตนานิคม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สยาม ยิ้มศิริ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ: การบริหารงานก่อสร้าง, การออกแบบและประมาณราคา, งานอาคาร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการบริหารงานก่อสร้างประเภทอาคารในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคาภายใต้การบริหารงานก่อสร้างของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ให้การทำงานมีประสิทธิภาพและช่วยลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้รับจ้างงานอยู่ในปัจจุบันหรือผู้ที่เคยรับจ้างงานของเทศบาลเมืองบ้านบึง จำนวน 51 คน แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และส่วนที่ 2 คือการสอบถามถึงระดับความถี่และความรุนแรงของปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคาของประเภทงานอาคาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความรุนแรง จากการวิเคราะห์พบว่าปัญหา 3 อันดับแรกที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคาของประเภทงานอาคารคือ (i) รายละเอียดของแบบและรายการประกอบแบบไม่ชัดเจน (ii) ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงาน และ (iii) ราคาพาณิชย์จังหวัดไม่เป็นปัจจุบัน ตามลำดับ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] วิโรจน์ แตงวิเชียร. (2540). การศึกษาการบริหารงานก่อสร้างในประเทศไทย: ปัญหาและแนวทางการแก้ไข. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[2] Long, N. D., Ogunlana, S., Quang, T. and Lam, K. C. (2004). Large construction projects in developing countries: A case study from Vietnam. International journal of project management. 22(7). pp. 203-211.

[3] วิรัช อัครทัตตะ. (2542). การพัฒนาระบบการคิดราคา และระบบควบคุมสำหรับการวางแผนงานก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ศูนย์รับภูมิภาควิศวกรรมระบบการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[4] พรทิพย์ ดำรงรักษ์ธรรม. (2547). การบริหารโครงการก่อสร้างแบบเร่งรัดที่มีผลต่อกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ : กรณีศึกษาโครงการของการบินไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้