สาเหตุความล่าช้าในการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ของสถานีไฟฟ้าย่อยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

  • ทรงยศ หวันสมาน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • วรรณวิทย์ แต้มทอง
คำสำคัญ: ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน , ความล่าช้า , สถานีไฟฟ้าย่อย

บทคัดย่อ

การไฟฟ้านครหลวงได้มีโครงการท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินมาใช้เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มทัศนียภาพของเมืองให้มีความน่าอยู่และลดปัญหาของกิ่งไม้ที่พาดผ่านสายไฟฟ้า อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายไฟในอนาคต  แต่เนื่องจากโครงการก่อสร้างเกิดความล่าช้าไม่แล้วเสร็จตามสัญญาที่กำหนด จึงเป็นเหตุให้ผู้วิจัยทำการศึกษาเรื่อง สาเหตุความล่าช้าในการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของสถานีไฟฟ้าย่อยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยได้การทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางผู้เกี่ยวข้องในงานโครง การท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสถานีไฟฟ้าต้นทางคลองรังสิต โครงการสถานีไฟฟ้าต้นทางคลองด่าน และโครงการสถานีไฟฟ้าย่อยนิมิตรใหม่ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง ผู้รับเหมาย่อย และฝ่ายออกแบบของโครงการ ผลการศึกษาพบร้อยละของสาเหตุที่ก่อให้เกิดความล่าช้าต่อโครงการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของสถานีไฟฟ้าย่อยในพื้นที่กรุงเทพมหานครคือ ด้านสิ่งแวดล้อมและกายภาพพื้นที่ 27%  ด้านวิธีการดำเนินงานและการออกแบบ 20% ด้านบุคลากร 18%  ด้านการเงิน 14%  ด้านวัสดุและอุปกรณ์ 12% ด้านเครื่องจักร 9% โดยสาเหตุความล่าช้าที่สำคัญคือ การขออนุญาตก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตจากทางผู้รับผิดชอบพื้นที่

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
หวันสมานท. และ แต้มทองว. 2020. สาเหตุความล่าช้าในการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ของสถานีไฟฟ้าย่อยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), CEM18.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้