การใช้ไม้ประดับในการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร

  • นวภา เฉยเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • วรรณวิทย์ แต้มทอง
คำสำคัญ: คุณภาพอากาศภายในอาคาร, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, ฝุ่นละออง, พืช

บทคัดย่อ

อาคารเป็นสถานที่ที่คนใช้อยู่อาศัยและดำเนินชีวิตประจำวัน คุณภาพอากาศภายในอาคารจึงมีความสำคัญที่ควรถูกออกแบบและจัดการให้เหมาะกับจำนวนคนและกิจกรรมภายในอาคาร เพื่อให้มีคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ดี งานวิจัยนี้จึงให้ความสำคัญกับเรื่องมลพิษทางอากาศภายในอาคาร คือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ที่สามารถสะสมอยู่ในระบบทางเดินหายใจและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ความเข้มข้นสูงที่เกิดจากการหายใจของผู้ใช้งานจำนวนมากภายในอาคาร ซึ่งส่งผลเสียต่อการปฏิบัติติงานในแต่ละวัน งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฝุ่นละอองของพืช 6 ชนิด อันได้แก่ พลูงาช้าง, ข้าหลวงหลังลาย, เฟิร์น-บอสตัน, เศรษฐีเรือนนอก, แก้วกาญจนา และเดหลี ในกล่องที่ติดตั้งเครื่องมือวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, เครื่องมือวัดปริมาณฝุ่นละออง, เครื่องมือวัดความเข้มแสง และพัดลมหมุนเวียนอากาศในกล่อง โดยทำการทดลองพืชแต่ละชนิดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อวิเคราะห์หาชนิดพืชที่ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฝุ่นละอองในอากาศ ผลการศึกษาพบว่า ต้นเด-หลีลดก๊าซ CO2 และฝุ่น PM 10 ใน 1 วันได้มากที่สุด โดยสามารถลดก๊าซ CO2 ได้ 16.45 * 10-4 ppm/cm2/min และลดฝุ่น PM 10 ได้ 28.99 * 10-5 µg/m3/cm2/min อีกทั้งยังสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวันได้ดีที่สุด โดยสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 28.8470 * 10-4 ppm/cm2/min ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้แนะนำให้ปลูกเดหลีในอาคารที่มีการใช้งานส่วนใหญ่ในช่วงเวลากลางวันอย่างห้องเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในให้ดีขึ้น

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้