ข้อสังเกตุเกี่ยวกับการฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา กรณีศึกษาภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • ทัศนีย์ จันทร์เชื้อแถว ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สมชาย ปฐมศิริ
คำสำคัญ: การฝึกงาน, นักศึกษาวิศวกรรมโยธา, สถานประกอบการ, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

การฝึกงานวิศวกรรม (Engineering Training) มีวัตถุประสงค์ที่จะให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้สภาพการทำงานจริงเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะสำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพเป็นวิศวกรโยธาในอนาคต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา ของสถาบันอุดมศึกษาไทยทุกแห่งจึงมีรายวิชาการฝึกงาน และเป็นไปตามข้อกำหนดของสภาวิศวกร บทความนี้จะดำเนินการศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาฝึกงานในแง่มุมต่างๆ เช่น สถานประกอบการที่เลือกไปฝึกงาน สถานที่ฝึกงานจริง ลักษณะของสถานประกอบการ ลักษณะของสถานที่ฝึกงานจริง ค่าตอบแทน เป็นต้น โดยวิเคราะห์ฐานข้อมูลการฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2561 ผลการวิเคราะห์พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่จะเลือกสถานประกอบการที่ตรงสาขา ส่วนมากนักศึกษาเป็นผู้สรรหาสถานประกอบการเอง นักศึกษามักไม่ทราบล่วงหน้าว่าสถานที่ฝึกงานจริงเป็นที่ใดและมักจะแตกต่างจากสถานประกอบการที่เลือกไว้ นักศึกษาส่วนมากฝึกงานโดยได้รับค่าตอบแทน และระบุว่าการเดินทางสะดวก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่านักศึกษาได้พิจารณาเลือกสถานที่ฝึกงานเอง หรือย้ายทำเลที่ตั้งไปพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสถานที่ฝึกงานจริง ผลลัพธ์จากการศึกษา ทำให้ทราบถึงความต้องการของนักศึกษาในการเลือกสถานที่ฝึกงาน พฤติกรรมการฝึกงานของนักศึกษา ลักษณะของสถานประกอบการแต่ละแห่ง ซึ่งบอกเป็นนัยว่านักศึกษามีกระบวนการพิจารณาตัดสินใจเลือกสถานประกอบการสำหรับฝึกงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเองโดยพิจารณาจากหลายปัจจัยประกอบกัน ผลการศึกษาวิจัยสามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการเตรียมสถานประกอบการได้อย่างเหมาะสม เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการฝึกงานให้ดียิ่งขึ้น

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-06
How to Cite
[1]
จันทร์เชื้อแถวท. และ ปฐมศิริส. 2020. ข้อสังเกตุเกี่ยวกับการฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา กรณีศึกษาภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), CEE04.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้