การประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษาวิศวกรรมโยธา: มุมมองผู้ผลิตและผู้บริโภค
คำสำคัญ:
การฝึกงาน, วิศวกรรมโยธา, การประเมิน, สถานประกอบการ, มหาวิทยาลัยมหิดลบทคัดย่อ
การฝึกงาน เป็นรายวิชาบังคับของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา ในสถาบันอุดมศึกษาไทยทุกแห่ง บัณฑิตวิศวกรรมโยธาทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการนี้ จึงจะสามารถสำเร็จการศึกษาได้ การฝึกงานมุ่งหวังให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้สภาพการทำงานจริงเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะสำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพเป็นวิศวกรโยธาในอนาคต สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจึงพยายามควบคุมคุณภาพของการฝึกงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกสถานประกอบการ การตรวจเยี่ยม และการประเมินผล บทความนี้วิเคราะห์ผลการประเมินการฝึกงานของนักศึกษาเมื่อพิจารณามุมมองของทั้งผู้ผลิต (สถาบันการศึกษา) และมุมมองของผู้บริโภค (สถานประกอบการ) โดยศึกษาจากฐานข้อมูลการฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 67 ราย การประเมินโดยคณาจารย์ที่ไปตรวจเยี่ยมใช้เกณฑ์ 9 ข้อ ข้อละ 6 คะแนน รวม 54 คะแนน การประเมินโดยพี่เลี้ยงของสถานประกอบการใช้เกณฑ์ 18 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน รวม 90 คะแนน คะแนนเฉลี่ยของการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเชิงพรรณาพบว่า คะแนนเฉลี่ยจากทั้งสองกลุ่มการประเมินมีค่าไม่ต่ำกว่า 80% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี ผ่านการประเมินทั้งหมด นำคะแนนแต่ละเกณฑ์มาวาดกราฟแมงมุม ทำให้ทราบได้ว่านักศึกษามีจุดเด่นและจุดด้อยในเกณฑ์ใด เมื่อพิจารณาคะแนนการประเมินจากทั้งสองกลุ่มตามเกณฑ์ที่มีความคล้ายคลึงกัน ทำให้สามารถทราบได้ว่าคณาจารย์ (ผู้ผลิต) และพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ (ผู้บริโภค) มีมุมมองต่อคุณภาพของว่าที่บัณฑิตที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นประโยขน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการผลิตบัณฑิต วิธีการเรียนการสอนให้ทันสมัยสามารถตอบโจทย์ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคได้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์