คุณสมบัติทางกายภาพของดินเหนียวเผามวลเบาทำจากไดอะตอมไมต์ผสมโฟม

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล ฐาตุจิรางค์กุล สาขาวิชาช่างโยธา วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา
  • คำภี จิตชัยภูมิ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ดินเหนียวเผา, ไดอะตอมไมต์, มวลเบา, โฟม

บทคัดย่อ

บทความนี้รายงานการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของดินเหนียวเผามวลเบาที่ทำจากไดอะตอมไมต์หรือดินเบาผสมโฟมชนิดเติมฟองอากาศในปริมาณร้อยละ 5 – 20 ของน้ำหนักดินแห้ง ดินเหนียวเผามวลเบาผ่านการเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 12 ชั่วโมง นำไปทดสอบกำลังรับแรงอัด การดูดซึมน้ำ หน่วยน้ำหนักแห้ง และ โครงสร้างระดับจุลภาค ผลการศึกษาพบว่าหน่วยน้ำหนักแห้งของดินเหนียวเผามวลเบาอยู่ระหว่าง 510 - 1100 kg/m3 ซึ่งลดลงตามปริมาณโฟมที่เพิ่มขึ้น กำลังรับแรงอัดของดินเหนียวเผามวลเบาลดลงตามระดับหน่วยน้ำหนักที่ลดลงโดยมีกำลังรับแรงอัดอยู่ระหว่าง 20 - 50 kg/cm2  ซึ่งค่ากำลังรับแรงอัดใกล้เคียงกับอิฐก่อสร้างสามัญท้องตลาด ส่วนค่าการดูดซึมน้ำเพิ่มขึ้นตามระดับหน่วยน้ำหนักที่ลดลง โดยมีการดูดซึมน้ำอยู่ระหว่างร้อยละ 29 - 47 ซึ่งสูงกว่าอิฐก่อสร้างสามัญท้องตลาด อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักของงานวิจัยนี้เพื่อที่จะนำเอาไดอะตอมไมต์มาใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตอิฐก่อสร้างสามัญหรืออิฐมอญน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงและเป็นการยกระดับคุณภาพของอิฐมอญให้สูงขึ้นสามารถแข่งขันในตลาดได้

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-07

วิธีการอ้างอิง