การบูรณะชั้นพื้นทางเดิม โดยการหมุนเวียนชั้นทางเดิมมาใช้งานใหม่ บนทางหลวงหมายเลข 12 ตอน วังทอง - เข็กน้อย

ผู้แต่ง

  • ชัจจักร์ ศรีประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชวเลข วณิชเวทิน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พิพัฒน์ สอนวงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ชั้นพื้นทางดินซีเมนต์, ค่ากำลังอัดแกนเดียว, การหมุนเวียนวัสดุชั้นทางเดิมมาใช้งานใหม่ แบบปรับปรุงคุณภาพในที่

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อต้องการหาปริมาณปูนซีเมนต์ และอัตราส่วนผสมระหว่างดินซีเมนต์กับหินคลุกที่เหมาะสมของชั้นพื้นทางดินซีเมนต์เดิมที่เกิดความเสียหาย บนทางหลวงหมายเลข 12 ตอน วังทอง - เข็กน้อย และทำการบูรณะปรับปรุงชั้นพื้นทาง โดยวิธีการหมุนเวียนวัสดุชั้นทางเดิมมาใช้งานใหม่ แบบปรับปรุงคุณภาพในที่ ซึ่งได้ทำการออกแบบอัตราส่วนผสมเพื่อให้ได้ค่ากำลังอัดแกนเดียว ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ในอัตราส่วนผสมของ (ดินซีเมนต์ : หินคลุก) จำนวน 4 รูปแบบ คือ  100 : 0, 75 : 25, 50 : 50 และ 25 : 75 และเติมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 ในระหว่างปริมาณ 3 – 7% รวม 144 ตัวอย่าง ทำการบ่มตัวอย่างที่ระยะเวลา 1, 3, 5, 7, 14 และ 28 วัน ซึ่งผลของงานวิจัยพบว่า อัตราส่วนที่มีความเหมาะสม คือ ใช้อัตราส่วนผสม (ดินซีเมนต์ : หินคลุก) ที่ 50 : 50 ใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ประมาณ 4% ที่ระยะเวลาการบ่ม 5 วัน ซึ่งค่ากำลังอัดแกนเดียวที่ได้ มีค่ามากกว่า 24.50 กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร (ksc)

 

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-06

วิธีการอ้างอิง

[1]
ศรีประเสริฐ ช. และคณะ 2020. การบูรณะชั้นพื้นทางเดิม โดยการหมุนเวียนชั้นทางเดิมมาใช้งานใหม่ บนทางหลวงหมายเลข 12 ตอน วังทอง - เข็กน้อย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), INF01.