ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน กรณีศึกษา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าโบสถ์ จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ช่วงต้นคลอง, ช่วงกลางคลอง, ช่วงท้ายคลองบทคัดย่อ
การศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าโบสถ์ ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารจัดการน้ำ 2) ด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษาระบบชลประทาน 3) ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ดำเนินการโดยรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ใช้น้ำในเขตชลประทานด้วยแบบสอบถามจำนวน 400 คน โดยแบ่งพื้นที่รับน้ำในการศึกษาออกเป็น 3 ช่วง คือ 1) ช่วงต้นคลอง 2) ช่วงกลางคลอง และ 3) ช่วงปลายคลอง แล้วนำผลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ บริเวณพื้นที่รับน้ำต้นคลองและบริเวณพื้นที่รับน้ำกลางคลองช่วงฤดูแล้ง มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับสูงในทุกๆประเด็น ส่วนบริเวณพื้นที่รับน้ำปลายคลองมีความพึงพอใจในระดับสูงสำหรับประเด็นที่ 1) และ 3) แต่มีความพึงพอใจในระดับปานกลางสำหรับประเด็นที่ 2) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำน้อย และเมื่อส่งน้ำไปตามระบบการส่งน้ำของโครงการชลประทานไปให้พื้นที่เพาะปลูกทุกแห่งในเขตพื้นที่ชลประทาน ช่วงต้นคลองและกลางคลองจะได้รับปริมาณน้ำเพียงพอ แต่จะไม่เพียงพอสำหรับพื้นที่ชลประทานช่วงปลายคลอง และระดับความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ศึกษาทั้งหมดช่วงฤดูฝน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงทั้ง 3 ประเด็น
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สุทัศน์ สุวรรณหาร. 2554. ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการบริหารจัดการน้ำของกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน คลอง MC (สนามบิน) ตำบลหนองพอก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ปริญญา ร.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์