ผลกระทบของกำลังรับแรงดึงสูงสุดและระยะห่างระหว่างชั้นของตาข่ายเสริมกำลังแบบสองทิศทางที่มีต่อกำลังอัดและการเสียรูปของทรายเสริมกำลัง
คำสำคัญ:
กำลังรับแรงอัด, กำลังรับแรงดึงของวัสดุเสริมแรง, ตาข่ายเสริมแรง, แรงอัดสามแกน, ระยะห่างระหว่างชั้นของวัสดุเสริมแรงบทคัดย่อ
การออกแบบโครงสร้างดินเสริมกำลัง (GRS) ในปัจจุบันได้มีการนำเสนอแนวคิดที่ว่า โครงสร้างดินที่เสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมแรงที่มีอัตราส่วนระหว่างกำลังรับแรงดึงสูงสุดและระยะห่างของวัสดุเสริมกำลัง (Tult/Sv) เท่ากันจะให้กำลังอัดสูงสุดเท่ากัน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาจำนวนมากพบว่าแนวคิดนี้ไม่ถูกต้องนัก นอกจากนี้ งานวิจัยในอดีตมักใช้การทดสอบแรงอัดแบบระนาบความเครียดในงานวิจัยนี้ได้นำตาข่ายเสริมแรงสองทิศทาง (biaxial geogrid) ประเภท โพลีเอสเตอร์ (Polyester) ที่มี Tult แตกต่างกัน 4 ค่า ได้แก่ 40, 60, 80 และ 120 kN/m มาเสริมแรงกับตัวอย่างทรายแล้วทำการทดสอบแรงอัดสามแกน (Triaxial compression test) การศึกษานี้กำหนดให้ค่า Tult/Sv หรือ TVR เท่ากับ 500, 1000 และ 1500 kN/m/m ดังนั้นจำนวนชั้นของตาข่ายเสริมกำลังจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณี ทั้งนี้เพื่อที่จะมุ่งศึกษาอิทธิพลของค่ากำลังรับแรงดึงสูงสุด เมื่ออัตราส่วน TVR มีค่าคงที่ และ อิทธิพลของค่าอัตราส่วน TVR เมื่อ Tult มีค่าคงที่ ผลการศึกษาพบว่าการเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังที่มีค่า Tult ต่ำแต่เสริมถี่ ๆให้ค่ากำลังอัดสูงสุดมากกว่า เสริมด้วยตาข่ายเสริมกำลังที่มีค่า Tult สูงแต่เสริมห่างๆ ในทางเดียวกันการเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังที่มีค่า Tult ต่ำแต่เสริมถี่ ๆทำให้ตัวอย่างมีการเสียรูปด้านข้างที่น้อยกว่าการเสริมด้วยตาข่ายเสริมกำลังที่มีค่า Tult สูงแต่เสริมห่างๆ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์