การพัฒนาโต๊ะตะแคงสองทิศทางเพื่อการทดสอบสมบัติกำลังรับแรงเฉือนของอินเตอร์เฟส

  • กังวาน กานดาวรวงศ์
  • ธนวรรณ แจ้งกระจ่าง
  • ยศพล เปมานุกรรักษ์
  • วรัช ก้องกิจกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ: การเฉือนสองทิศทาง, โต๊ะตะแคง, เส้นโค้งการวิบัติ, หน่วยแรงตั้งฉากต่ำ, อินเตอร์เฟส

บทคัดย่อ

กำลังรับแรงเฉือนของอินเตอร์เฟสเป็นตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างทางด้านวิศวกรรมเทคนิคธรณี ในปัจจุบันนิยมใช้การประมาณค่าแทนการทดสอบจริง ซึ่งมักทำให้ได้ค่ากำลังรับแรงเฉือนของอินเตอร์เฟสแตกต่างจากค่าที่เกิดขึ้นจริงในสนาม งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาโต๊ะตะแคงเพื่อใช้ทดสอบกำลังรับแรงเฉือนสองทิศทางของอินเตอร์เฟสต่าง ๆ ที่นิยมใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ มอร์ต้า ไม้ และ จีโอเทกซ์ไทล์แบบไม่ถัก กับดินทรายในสภาวะหน่วยแรงตั้งฉากต่ำ จากนั้นเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์ความเสียดทานกับการทดสอบในสภาวะหน่วยแรงตั้งฉากสูงที่ได้จากการทดสอบแรงเฉือนตรง จากผลการทดสอบพบว่า เส้นโค้งการวิบัติที่ได้จากการทดสอบโดยโต๊ะตะแคงมีลักษณะเป็นวงกลมที่รัศมีเพิ่มขึ้นตามหน่วยแรงตั้งฉากที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สัมประสิทธิ์ความเสียดทานจากการทดสอบแรงเฉือนตรงมีค่าสูงกว่าค่าที่ได้จากการทดสอบโดยโต๊ะตะแคง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
กานดาวรวงศ์ก., แจ้งกระจ่างธ., เปมานุกรรักษ์ย. และ ก้องกิจกุลว. 2020. การพัฒนาโต๊ะตะแคงสองทิศทางเพื่อการทดสอบสมบัติกำลังรับแรงเฉือนของอินเตอร์เฟส. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), GTE05.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้