การศึกษากระบวนการจีโอโพลิเมอร์ไรเซชั่นของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพด้วยเถ้าลอย

ผู้แต่ง

  • ศิริพัฒน์ มณีแก้ว ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ปิยรัตน์ เปาเล้ง
  • รักษ์ศิริ สุขรักษ์
  • พานิช วุฒิพฤกษ์
  • อิทธิพล มีผล

คำสำคัญ:

จีโอโพลิเมอร์, ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ, เถ้าลอย, น้ำกากส่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจีโอโพลิเมอร์ไรเซชั่น ของจิโอโพลิเมอร์จากเถ้าลอยน้ำกากส่า (GFA) ที่ส่งผลต่อกำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัดเมื่อนำปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ โดยเมื่อสังเคราะห์จิโอโพลิเมอร์ โดยใช้สารละลายด่างคือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 4, 6, 8 และ 10 โมลาร์ อัตราส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ในแต่ละความเข้มข้นต่อเถ้าลอยน้ำกากส่า เท่ากับ 0.5, 0.7 และ 1.0 พบว่าที่ความเข้มข้น 6 โมลาร์ อัตราส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่อเถ้าลอยน้ำกากส่าเท่ากับ 0.5 ให้ค่ากำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัดสูงที่สุดที่ 1,862 kPa เมื่อนำจิโอโพลิเมอร์ที่เหมาะสมไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนกรุงเทพที่แปลงสภาพให้มีค่าปริมาณความชื้น 1.1 เท่าของขีดจำกัดเหลว เมื่อใช้สัดส่วนดินเหนียวแปลงสภาพต่อจิโอโพลิเมอร์ 1:2, 1:1.5, 1:1 และ 2:1 โดยน้ำหนัก พบว่าค่ากำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัดสูงที่สุดที่อายุ 28 วัน และอุณภูมิการบ่ม 25 และ 70 องศาเซลเซียส เท่ากับ 925 และ 1,175 kPa ตามลำดับ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

มณีแก้ว ศ., เปาเล้ง ป. ., สุขรักษ์ ร. ., วุฒิพฤกษ์ พ. ., & มีผล อ. (2023). การศึกษากระบวนการจีโอโพลิเมอร์ไรเซชั่นของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพด้วยเถ้าลอย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE12–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2609

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##