แนวทางการพัฒนาแผ่นซีเมนต์บอร์ดผสมเส้นใยจากกล่องเครื่องดื่มร่วมกับเส้นใยจากผักตบชวา

ผู้แต่ง

  • ปิยรัตน์ เปาเล้ง ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • อิทธิพล มีผล

คำสำคัญ:

แผ่นซีเมนต์บอร์ด, เส้นใยจากผักตบชวา, มอดุลัสยืดหยุ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอแนวทางการพัฒนาแผ่นซีเมนต์บอร์ดผสมเส้นใยจากกล่องเครื่องดื่มร่วมกับเส้นใยจากผักตบชวา เพื่อเป็นแนวทางในการลดต้นทุนในการผลิตแผ่นซีเมนต์บอร์ดและประยุกต์ใช้วัชพืชเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์ โดยทำการขึ้นรูปแผ่นซีเมนต์บอร์ดความหนาแน่น (Density) 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อัตราส่วนระหว่างปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ และปริมาณเส้นใย (C:B) สําหรับการผสม 70:30 โดยน้ำหนัก จากแบบสำหรับทำแผ่นซีเมนต์บอร์ดขนาด กว้าง 30 ซม. ยาว 30 ซม. หนา 2 ซม. และ ใช้อัตราส่วนเส้นใยจากผักตบชวาในอัตราส่วนร้อยละ 0 50 และ 100 ของเส้นใยกล่องเครื่องดื่ม โดยอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (w/c) คงที่ เท่ากับ 0.6 และดำเนินการทดสอบตามข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม แผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์ความหนาแน่นสูง มอก. 878-2532 และ DIN 1101:1989ประกอบด้วย มอดุลัสแตกหัก (MOR) มอดุลัสยืดหยุ่น (MOE) การดูดซึมน้ำ (WA) การพองตัว (TS) ความต้านทานต่อการเผาไหม้ของแผ่นซีเมนต์บอร์ด รวมถึงการดูดซับเสียง จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าปริมาณเส้นใยจากผักตบชวาที่มีอัตราส่วนสูงขึ้นในแผ่นซีเมนต์บอร์ดมีคุณสมบัติทางกลและกายภาพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้อัตราส่วนเส้นใยจากผักตบชวาในอัตราส่วนร้อยละ 50 มีผลใกล้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐาน เหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาต่อเพื่อสามารถที่จะประยุกต์ใช้กับงานภายในอาคารได้ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06

วิธีการอ้างอิง

เปาเล้ง ป., & มีผล อ. (2023). แนวทางการพัฒนาแผ่นซีเมนต์บอร์ดผสมเส้นใยจากกล่องเครื่องดื่มร่วมกับเส้นใยจากผักตบชวา. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, MAT26–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2522

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##