การประเมินการใช้คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุคันทางสำหรับถนนแอสฟัลต์คอนกรีตในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธนุตม์ กล่อมระนก กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ชลลดา เลาะฟอ

คำสำคัญ:

คอนกรีตมวลเบา, วัสดุคันทาง, ถนนแอสฟัสต์คอนกรีต, แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์

บทคัดย่อ

การก่อสร้างถนนบนฐานรากดินเหนียวอ่อนของกรุงเทพมหานครมักประสบปัญหาการทรุดตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เนื่องจากน้ำหนักของดินถมมากกว่ากำลังรับแรงเฉือนของดินฐานราก และกระบวนการรวมตัวของดินฐานรากในสภาพชุ่มน้ำ ซึ่งปัจจุบันมีเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพดินฐานราก 2 หลักการคือ การถ่ายน้ำหนักของดินถมลงไปสู่ชั้นที่แข็งแรง และการเร่งการทรุดตัวด้วยน้ำหนักกดทับล่วงหน้า บทความนี้นำเสนอ การใช้คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุทางเลือกในชั้นคันทาง เพื่อลดน้ำหนักของวัสดุที่กระทำบนฐานรากดินเหนียวอ่อน โดยการประเมินคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตมวลเบาประกอบด้วย การทดสอบกำลังรับแรงอัด การทดสอบกำลังรับดึงแยก การทดสอบหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นและค่าอัตราส่วนปัวซอง และการทดกำลังรับแรงอัดแบบไดนามิค เพื่อคัดเลือกความหนาแน่นของคอนกรีตมวลเบาที่เหมาะสมมาใช้ในการประเมินหาความหนาสำหรับการประยุกต์ใช้ในชั้นคันทางของโครงสร้างถนนแอสฟัลต์คอนกรีตผ่านแบบจำลองในโปรแกรม ANSYS จากผลการศึกษาพบว่าความหนาแน่นของคอนกรีตมวลเบาที่ 600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และมีความหนา 0.4 เมตร สามารถลดความเค้น ความเครียด และการทรุดตัวบนชั้นดินฐานรากลงได้ดีกว่าโครงสร้างถนนแบบดั่งเดิม ซึ่งส่งผลให้โครงสร้างถนนมีเสถียรภาพระยะยาวจากการเสียรูปถาวร

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

กล่อมระนก ธ., & เลาะฟอ ช. . (2023). การประเมินการใช้คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุคันทางสำหรับถนนแอสฟัลต์คอนกรีตในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL71–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2526

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##