ระบบการจัดเก็บองค์ความรู้แนวทางป้องกันการเสี่ยงภัยในโครงการก่อสร้างอาคาร

ผู้แต่ง

  • ยุทธศิลป์ บูรณมณีศิลป์
  • ชลลดา เลาะฟอ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คำสำคัญ:

ระบบจัดการเก็บองค์ความรู้, การจัดการความปลอดภัย, การป้องกันการเสี่ยงภัย, การบริหารงานก่อสร้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการจัดเก็บองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการเสี่ยงภัยสำหรับโครงการก่อสร้างอาคาร เพื่อเป็นเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลและองค์ความรู้ ทำให้ความรู้ไม่สูญหายไปกับบุคคลหรือโครงการที่สิ้นสุด ใช้สื่อสารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุที่สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และผลกระทบต่อการบริหารงานก่อสร้าง โดยฐานข้อมูลหลักของระบบประกอบด้วย (1) ข้อมูลทั่วไป (2) ข้อมูลประเภทอุบัติเหตุและสาเหตุ (3) แนวทางในการป้องกัน องค์ความรู้ต้นแบบมาจากการเปรียบเทียบข้อกำหนดแนวทางการป้องกันของหน่วยงานภาครัฐในประเด็นที่เหมือนและแตกต่างเพื่อพัฒนาแบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการระบบความปลอดภัยในโครงการก่อสร้างอาคารถึงความสอดคล้องของข้อกำหนดกับการนำมาใช้จริงในทางปฏิบัติ ผู้วิจัยเลือกแนวทางการป้องกันภัย 4 อันตรายร้ายแรงในงานก่อสร้างจากข้อมูลสถิติของ OSHA มาเป็นกรณีศึกษา คือ (1) การตกจากที่สูง (2) การชนทับกระแทกด้วยวัสดุ (3) อันตรายจากไฟฟ้า (4) การติดด้านในหรือระหว่างเครื่องจักรกลหรือวัสดุ ความสามารถของระบบ คือ ผู้ใช้งานสามารถทำการบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อติดตามความคืบหน้าการปรับปรุงแก้ไข การค้นหาข้อมูลที่ต้องการทราบเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและวิธีการปฏิบัติตามเงื่อนไขประเภทอุบัติเหตุและสาเหตุ รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุแสดงให้เห็นถึงระดับความสามารถของการจัดการความปลอดภัยในหน่วยงานก่อสร้าง

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

บูรณมณีศิลป์ ย., & เลาะฟอ ช. (2023). ระบบการจัดเก็บองค์ความรู้แนวทางป้องกันการเสี่ยงภัยในโครงการก่อสร้างอาคาร. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, CEM13–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2047