ข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติและการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ของวัดพระราม

ผู้แต่ง

  • ฐานวัฒน์ จินานุสรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สุวัจน์ชัย แก้วมาคูณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชัยณรงค์ อธิสกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

เจดีย์ของไทย, เทคโนโลยีสแกนวัตถุ, มิติแบบแสงเลเซอร์, วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, วัดพระราม

บทคัดย่อ

วัดพระรามเป็นวัดที่สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งเป็นโบราณสถานที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เจดีย์องค์ประธานเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ โดยได้อิทธิพลมาจากเมืองละโว้ หรือเขมรโบราณ การทราบลักษณะทางกายภาพที่ชัดเจนร่วมกับองค์ความรู้เชิงลึกในพฤติกรรมของตัวโครงสร้างมีความสำคัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญแห่งนี้ ด้วยเหตุนี้งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะนำเสนอการใช้เทคโนโลยีสแกนวัตถุ 3 มิติ ด้วยแสงเลเซอร์และการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับวัดพระราม โดยข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติที่ได้จากเทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์สภาพตำแหน่งปัจจุบันรวมถึงความโน้มเอียงที่ตำแหน่งยอดของเจดีย์ ผลการศึกษาพบว่าเจดีย์มีความสูงอยู่ที่ 40.54 เมตร และพบว่าเจดีย์เอียงตัวไปในทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นมุม 0.34 องศา จากข้อมูลการสำรวจพบว่าวัสดุหลักที่ใช้สร้างเจดีย์ประกอบด้วยวัสดุพื้นฐาน 2 ชนิดได้แก่อิฐโบราณและศิลาแลงซึ่งทำให้การวิเคราะห์โครงสร้างวัดพระรามเป็นปัญหาที่ท้าทาย ดังนั้นการศึกษานี้จึงนำวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มาใช้ในการประเมินการกระจายความเค้นและวิเคราะห์พฤติกรรมการสั่นอิสระของเจดีย์ พบว่าค่าความเค้นดึงสูงสุดมีค่าเท่ากับ 233.80 กิโลปาสคาล และค่าความเค้นอัดมีค่าเท่ากับ 1241.02 กิโลปาสคาล ซึ่งในที่สุดจะทำให้สามารถแสดงข้อมูลการกระจายความเค้นที่เกิดขึ้น รูปแบบความเสียหายที่สามารถเป็นไปได้ รวมถึงค่าความถี่ธรรมชาติและรูปแบบการสั่นของเจดีย์ โดยจะแสดงการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการใช้สมบัติวัสดุสองชนิดที่แตกต่างกันในแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27

วิธีการอ้างอิง

จินานุสรณ์ ฐ., มหาสุวรรณชัย พ. ., แก้วมาคูณ ส. ., อธิสกุล ช. ., & ลีลาทวีวัฒน์ ส. (2023). ข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติและการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ของวัดพระราม. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, STR25–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2368

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##