สมบัติทางกลของอิฐโบราณ และกำลังรับแรงอัดของอิฐก่อ เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานในเชียงแสน

  • ชวัลวิทย์ ภ่ารสงัด ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจ.กรุงเทพมหานคร
  • พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.กรุงเทพมหานคร
  • กันตภณ จินทราคำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.กรุงเทพมหานคร
  • วีรชาติ ตั้งจิรภัทร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.กรุงเทพมหานคร
  • ชัยณรงค์ อธิสกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.กรุงเทพมหานคร
  • สุทัศน์ ลีลาวทวีวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ: กำลังรับแรงอัด, ค่าคงที่ยีดหยุ่น, เชียงแสน, สมบัติทางกล, อิฐโบราณ, อิฐก่อรูปแบบปริซึม

บทคัดย่อ

บทบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาสมบัติทางกลของอิฐโบราณจากโบราณสถานในเชียงแสน โดยได้ทำการทดสอบสมบัติทางกลในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ กำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และความพรุน โดยทดสอบกำลังรับแรงอัดของอิฐในรูปแบบลูกบาศก์ และนำเสนอวิธีการทดสอบอิฐก่อทดแทนรูปแบบปริซีมแบบมีวัสดุประสานเพื่อหากำลังอัดและค่าคงที่ยืดหยุ่น โดยตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบนั้นได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร ตัวอย่างอิฐทดแทนที่ใช้ในการทดสอบผลิตขึ้นตามแนวทางของกรมศิลปากรสำหรับใช้ในงานเชิงอนุรักษ์โบราณสถานของไทย วัสดุประสานที่ใช้ในงานทดสอบจะใช้ส่วนผสมโดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ขาว ปูนหมัก และทรายในอัตราส่วน 1:8:24 ตามลำดับ อิฐก่อที่ใช้ในการทดสอบก่อด้วยอิฐทดแทนขนาด 15x30x5 ซม3 ในรูปแบบปรึซึมสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อเต็มผ่านตามแนวราบ 6 แผ่น ในการทดสอบนั้นใช้เครื่องมือวัดระยะการยุบตัวเพื่อใช้ในการหาค่าคงที่ยีดหยุ่นของอิฐก่อ ผลที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณสถานในเชียงแสน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-05