ผลของเถ้าลอยและเถ้าก้นเตาต่อค่าสะท้อนกลับ ความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก และกำลังอัดของคอนกรีตหลังถูกไฟเผา

ผู้แต่ง

  • พร้อมพงศ์ ฉลาดธัญญกิจ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • สนธยา ทองอรุณศรี สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก

คำสำคัญ:

การทดสอบแบบไม่ทำลาย, ค้อนกระแทก, ความเร็วคลื่นอัลตร้าโซนิค, เถ้าลอย, คอนกรีตบ่มภายใน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าสะท้อนกลับ ความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก และกำลังอัดของคอนกรีตผสมเถ้าลอย และคอนกรีตบ่มภายในที่ใช้เถ้าก้นเตาเป็นวัสดุบ่มภายในหลังถูกไฟเผา ทั้งในคอนกรีตปกติและคอนกรีตกำลังอัดสูง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสะท้อนกลับกับกำลังอัดและความเร็วคลื่นอัลตราโซนิกกับกำลังอัดทั้งก่อนและหลังถูกไฟเผา ส่วนผสมคอนกรีตใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.35 และ 0.55 ใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ในอัตราร้อยละ 10 และ 30 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ใช้เถ้าก้นเตาแทนที่มวลรวมละเอียดในปริมาณร้อยละ 10 และ 30 โดยปริมาตร อุณหภูมิที่ใช้ได้แก่ 300 500 และ 700 องศาเซลเซียส เผาเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ผลการทดสอบพบว่ากำลังอัดมีค่าลดลงตามอุณหภูมิการเผาที่สูงขึ้น การใช้เถ้าลอยผสมคอนกรีตมีแนวโน้มทำให้ความสามารถในการทนไฟของคอนกรีตดีขึ้น ส่วนการใช้เถ้าก้นเตามีแนวโน้มทำให้ความสามารถในการทนไฟของคอนกรีตลดลง ค่าสะท้อนกลับ และความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก มีค่าลดลงตามอุณหภูมิการเผาที่สูงขึ้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06

วิธีการอ้างอิง

ฉลาดธัญญกิจ พ., & ทองอรุณศรี ส. (2023). ผลของเถ้าลอยและเถ้าก้นเตาต่อค่าสะท้อนกลับ ความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก และกำลังอัดของคอนกรีตหลังถูกไฟเผา. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, MAT30–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2111

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##