ผลของเถ้าลอย เถ้าก้นเตา และเส้นใยสังเคราะห์ ต่อโมดูลัสยืดหยุ่นไดนามิกของคอนกรีต

ผู้แต่ง

  • สนธยา ทองอรุณศรี สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • พร้อมพงศ์ ฉลาดธัญญกิจ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก

คำสำคัญ:

โมดูลัสยืดหยุ่นแบบไดนามิค, เถ้าลอย, เถ้าก้นเตา, เส้นใยสังเคราะห์, ความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นไดนามิก (Ed) ของคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วน คอนกรีตผสมเถ้าลอย คอนกรีตผสมเถ้าก้นเตา และคอนกรีตผสมเส้นใยสังเคราะห์ โดยใช้เถ้าก้นเตาในรูปแบบการเป็นวัสดุบ่มภายใน ใช้วิธีทดสอบแบบไม่ทำลายด้วยวิธีใช้คลื่นอัลตราโซนิกเพื่อหาความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก (UPV) และนำไปคำนวณค่า Ed ของคอนกรีต วัสดุประสานที่ใช้เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.55 ปูนซีเมนต์ในส่วนผสมถูกแทนที่ด้วยเถ้าลอยร้อยละ 0, 30 และ 50 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ใช้เถ้าก้นเตาแทนที่มวลรวมละเอียดร้อยละ 10 และ 30 โดยปริมาตรของมวลรวมละเอียด ปริมาณเส้นใยสังเคราะห์ในส่วนผสมเท่ากับ 2 และ 4 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากผลการศึกษา พบว่า Ed ที่ประเมินจาก UPV มีค่าสูงกว่าโมดูลัสยืดหยุ่น (Ec) ประมาณร้อยละ 13-39 คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วนมีค่า Ec และ Ed ใกล้เคียงกับคอนกรีตผสมเส้นใยสังเคราะห์ ส่วนคอนกรีตผสมเถ้าลอยและเถ้าก้นเตา มีค่า Ec และ Ed น้อยกว่าคอนกรีตใช้ปูนซีเมนต์ล้วน โดยมีค่าลดลงตามปริมาณเถ้าลอยและเถ้าก้นเตาที่เพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่าง Ec และ Ed มีความสัมพันธ์แบบเส้นตรง ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและ UPV มีความสัมพันธ์แบบเอกซ์โพเนนเชียล

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05

วิธีการอ้างอิง

ทองอรุณศรี ส., & ฉลาดธัญญกิจ พ. (2023). ผลของเถ้าลอย เถ้าก้นเตา และเส้นใยสังเคราะห์ ต่อโมดูลัสยืดหยุ่นไดนามิกของคอนกรีต . การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, MAT17–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2115

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##