การประเมินกำลังอัดประลัยของคอนกรีตด้วยวิธีทดสอบแบบไม่ทำลาย โดยวิธีค้อนกระแทก วิธีใช้คลื่นอัลตราโซนิก และวิธีทดสอบแบบรวม

  • สนธยา ทองอรุณศรี สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • พร้อมพงศ์ ฉลาดธัญญกิจ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
คำสำคัญ: กำลังอัดประลัย, การทดสอบแบบไม่ทำลาย, ค้อนกระแทก, คลื่นอัลตราโซนิก, วิธีทดสอบแบบรวม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการประเมินกำลังอัดประลัยของคอนกรีตด้วยวิธีการทดสอบแบบไม่ทำลาย ใช้วิธีทดสอบแบบรวม SonReb เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนกลับและความเร็วคลื่นอัลตราโซนิกกับกำลังอัดประลัยของคอนกรีต คอนกรีตมีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.35 0.45 0.55 0.65 และ 0.75 และมีสภาพการบ่มตัวอย่างคอนกรีตในน้ำและในอากาศ ผลการศึกษาพบว่าเมื่อคอนกรีตมีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานมากขึ้นทำให้กำลังอัดประลัย ค่าการสะท้อน และความเร็วคลื่นอัลตราโซนิกมีค่าลดลง ขณะที่คอนกรีตที่มีสภาพการบ่มตัวอย่างในน้ำให้ค่ากำลังอัดประลัย ค่าการสะท้อน และความเร็วคลื่นอัลตราโซนิกมากกว่าของคอนกรีตที่มีสภาพการบ่มตัวอย่างในอากาศ และยังพบว่าค่าการสะท้อนกลับและกำลังอัดประลัยของคอนกรีตมีความสัมพันธ์แบบเส้นตรง ส่วนค่าความเร็วคลื่นอัลตราโซนิกและกำลังอัดประลัยของคอนกรีตมีความสัมพันธ์แบบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนกลับ (Q) และความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก (V) กับกำลังอัดประลัยของคอนกรีต (f’c) ตามวิธีทดสอบแบบรวมมีค่าเป็นไปดังสมการ 〖"f '" 〗_"c" "=" 〖" 5.5308×" 〖"10" 〗^"-17" " " 〖"V " 〗^"4.6093" " Q" 〗^"1.0491" โดยมี "R" ^"2" "= 0.9628"

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-06