การศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ลุ่มน้ำหมัน

ผู้แต่ง

  • อุเทน เกตุแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จิระวัฒน์ กณะสุต
  • ดนย์ปภพ มะณี

คำสำคัญ:

น้ำป่าไหลหลาก, น้ำท่วมฉับพลัน, MIKE11, MIKE21, MIKE FLOOD, เกณฑ์ปริมาณฝนสะสม

บทคัดย่อ

ลุ่มน้ำน้ำหมันเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน เป็นประจำเกือบทุกปี โดยสาเหตุเนื่องจากพื้นที่มีความลาดชัน และเป็นพื้นที่ราบลุ่มของลำน้ำหมันประกอบกับลำน้ำหมันเป็นลำน้ำมีขนาดไม่กว้างมากนักเมื่อเกิดฝนตกหนักต่อเนื่องปริมาณน้ำไหลอย่างรวดเร็วทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน จึงเกิดปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีกำลังจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังต้นน้ำ แต่ยังไม่มีเครื่องมือและแผนที่เสี่ยงภัยในการเตือนภัยจากปริมาณฝนที่ตกได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการไหลการเคลื่อนตัว และจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน โดยใช้เกณฑ์ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. 60 ,90,150 และ 200 มม./วัน ในการศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าจากปริมาณฝนด้วยแบบจำลอง MIKE11 (RR) คำนวณสภาพการไหลในลำน้ำด้วย MIKE11 (HD) ผลการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของน้ำหลาก อัตราการไหลในลำน้ำหมันจากต้นน้ำถึงจุดบรรจบลำน้ำเหือง ใช้เวลา 54 ชม. โดยอัตราการไหลสูงสุดที่สถานี 021101 ณ.วันที่ 13 สิงหาคม 2001 เท่ากับ 89 .392 ลบ.ม./วินาที และจุดบรรจบลำน้ำเหือง 168.738 ลบ.ม./วินาที จากนั้นได้ไปจำลองระดับน้ำในลำน้ำที่วันพยากรณ์ล่วงหน้าต่าง ๆ และพยากรณ์ระดับตามเกณฑ์ปริมาณฝน โดยใช้แบบจำลอง MIKE11 (DA) ผลการพยากรณ์น้ำล่วงหน้า 7 วัน โดยค่าความคาดเคลื่อน วันที่ 1 ถึง 3 ให้ความถูกต้องมากที่สุด มีค่า 0.207 0.174 และ 0.157 ม. แล้วจึงนำระดับน้ำพยากรณ์นั้นไปสร้างแผนที่น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน โดยใช้แบบจำลอง MIKE FLOOD พบว่าพื้นที่เสี่ยงภัยจากน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันมีพื้นที่ 6,745, 7,095, 7,884, และ 8,026 ไร่ ตามลำดับ พื้นที่ชุมชน 207, 301, 414, และ 424 ไร่ และสิ่งปลูกสร้าง 212, 309, 410, และ 423 หลังจากผลการจัดทำแบบจำลองสามารถนำแผนที่ไปใช้ในการแจ้งเตือนภัย และวางแผนหรือจัดพื้นที่อพยพ ที่ปลอดภัยได้ทันท่วงที และในอนาคตพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ในการพัฒนาโครงการสามารถนำแผนที่ไปประกอบการพิจารณาในการวางโครงการต่าง ๆของหน่วยงานรัฐได้อีกต่อไปฐได้อีกต่อไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

เกตุแก้ว อ., กณะสุต จ., & มะณี ด. (2023). การศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ลุ่มน้ำหมัน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, WRE08–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2031

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##