การศึกษาศักยภาพโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงหล่ม จังหวัดนครสวรรค์

  • ธวัช เหล่าโรจน์ทวีกุล ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จิระวัฒน์ กณะสุต ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เปรม รังสิวณิชพงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ: ปริมาณน้ำหลาก, สมดุลน้ำ, บริหารจัดการน้ำ

บทคัดย่อ

โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงหล่ม มีพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ 27.58 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในตำบลบ้านไร่และตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,139 มิลลิเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีความลาดเอียง แหล่งน้ำบึงหล่มเป็นบึงขนาดใหญ่สามารถรองรับปริมาณน้ำหลากจากทุ่งรับน้ำในฤดูฝน ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำบึงหล่ม ทั้งการอุปโภคบริโภค และการเกษตร รวมถึงการประปาส่วนภูมิภาค ที่ได้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำบึงหล่มเป็นหลัก ปัจจุบันบึงหล่มมีหลายหน่วยงานเข้ามาอนุรักษ์และฟื้นฟูแต่ทำได้เพียงบางส่วนทำให้ยังคงมีสภาพเสื่อมโทรม ส่วนในฤดูแล้งปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชาชน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งน้ำบึงหล่มที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับบรรเทาปัญหาภัยแล้ง โดยใช้แบบจำลอง MIKE HYDRO BASIN ในการจำลองระบบโครงข่ายอ่างเก็บน้ำเพื่อวิเคราะห์สมดุลน้ำในระบบฯ เพื่อเสนอแนะแนวทางรูปแบบในการบริหารจัดการแหล่งน้ำบึงหล่ม ในการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง พบว่าการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยในฤดูแล้ง การเพิ่มช่องทางน้ำเข้าบึง และเพิ่มปริมาณเก็บกักของบึงหล่มโดยการขุดลอกจะสามารถช่วยให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการทางด้านเกษตรกรที่สูงขึ้นได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09