การวิเคราะห์ปัจจัยการเข้าร่วมของผู้ใช้บริการรถตู้ร่วมมหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ศุภณัฐ เสนชุ่ม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
  • อรรถวิทย์ อุปโยคิน
  • เกรียงไกร อรุโณทยานันท์
  • เสริมศักดิ์ พงษ์เมษา
  • สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์

คำสำคัญ:

รถตู้ร่วม, การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ, มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การให้บริการรถตู้ร่วมเป็นรูปแบบการให้บริการที่มหาวิทยาลัยควรจัดหาเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางของนักศึกษาและบุคลากรที่ต้องเดินทางไปเรียนระหว่างวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย โดยรูปแบบรถตู้ร่วมควรเป็นรูปแบบการเดินทางที่สะอาด สะดวก คุ้มค่าและมีความยั่งยืน เพื่อที่จะส่งเสริมการให้บริการรถตู้ ข้อมูลทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ตัดสินใจในการกำหนดแผนและนโยบายที่เหมาะสม งานศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้รถตู้ร่วม โดยใช้ข้อมูลการสำรวจด้วยแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่เดินทางระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอแม่ริมจำนวน 200 คน ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการรถตู้ร่วมมหาวิทยาลัยสามารถจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปัจจัยความรู้สึกด้านลบ กลุ่มปัจจัยด้านด้านการให้บริการ กลุ่มปัจจัยความรู้สึกด้านบวก กลุ่มปัจจัยด้านความตั้งใจ กลุ่มปัจจัยการรับรู้ถึงการถูกควบคุม หรือปรับพฤติกรรม และกลุ่มปัจจัยพฤติกรรมในอดีต

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

เสนชุ่ม ศ., อุปโยคิน อ. ., อรุโณทยานันท์ เ. ., พงษ์เมษา เ. ., & พิริยะวัฒน์ ส. . (2023). การวิเคราะห์ปัจจัยการเข้าร่วมของผู้ใช้บริการรถตู้ร่วมมหาวิทยาลัย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL57–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1993