การลดจำนวนให้น้อยที่สุดของเศษที่เหลือจากการตัดเหล็กเสริมในการก่อสร้างอาคาร

ผู้แต่ง

  • เจตณัฐ ประภพรัตนกุล
  • ชญานนท์ พรเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภูริเดช ศิลป์ไพบูลย์พานิช
  • เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์

คำสำคัญ:

แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, เหล็กเสริม, การหาตำแหน่งต่อทาบที่เหมาะสมที่สุด, การลดปริมาณเศษเหล็กเสริมจากการตัด, รูปแบบการตัดเชิงเส้นที่เหมาะสมที่สุด

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอกระบวนการออกแบบหาค่าที่เหมาะสมที่สุด ในการระบุตำแหน่งจุดต่อทาบของเหล็กเสริมภายในเสา เพื่อให้เหลือเศษจากการตัดเหล็กเสริมน้อยที่สุดในการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ขั้นตอนการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ การสร้างแบบจำลองโครงสร้างสามมิติโดยใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) เพื่อให้ได้ข้อมูลความสูงเสา ขนาด และปริมาณของเหล็กเสริม จากนั้นจึงนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยการกำหนดสมการที่อธิบายจำนวนของเศษเหล็กเสริมที่เหลือจากการตัด โดยการกำหนดพิกัดและระยะทาบเหล็กเสริมภายในเสา ตามมาตรฐาน ACI318-19 และ มยผ. 1103-52 ขั้นตอนสุดท้ายทำการหาตำแหน่งจุดต่อทาบที่ทำให้เหลือเศษเหล็กเสริมจากการตัดให้น้อยที่สุด และนำข้อมูลออกมาเป็นรายละเอียดแบบก่อสร้างในการกำหนดจุดต่อทาบภายในเสา และรูปแบบการตัดเหล็กเสริมที่ทำให้เหลือเศษน้อยที่สุด ผลลัพธ์ที่ได้จากกรณีศึกษาอาคาร 6 ชั้นสามารถลดเศษเหล็กเสริมจากการปรับเปลี่ยนจุดต่อทาบภายในเสาได้ 2,123.520 กิโลกรัมเมื่อเทียบกับการไม่พิจารณาการปรับเปลี่ยนจุดต่อทาบ 10,465.920 ซึ่งสามารถลดปริมาณเหล็กเสริมที่ใช้ในเสาทั้งหมดได้ 20.29%

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

ประภพรัตนกุล เ., พรเจริญ ช., ศิลป์ไพบูลย์พานิช ภ., & ตั้งอร่ามวงศ์ เ. (2023). การลดจำนวนให้น้อยที่สุดของเศษที่เหลือจากการตัดเหล็กเสริมในการก่อสร้างอาคาร. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, CEM39–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2634

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##